วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเทศฟินแลนด์


             ประเทศฟินแลนด์ (ฟินแลนด์:  Suomi ; สวีเดน: Finland) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟินแลนด์ (ฟินแลนด์: Suomen tasavalta; สวีเดน: Republiken Finland) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป ฟินแลนด์มีประชากรเพียง 5 ล้านคน ในพื้นที่ 338,145 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรที่เบาบาง แต่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ตามสถิติของสหประชาชาติ พ.ศ. 2549 อยู่ในลำดับที่ 11 ฟินแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนหลายศตวรรษ หลังจากนั้นก็อยู่ภายใต้จักรวรรดิรัสเซียจนถึงปี พ.ศ. 2460 ปัจจุบันฟินแลนด์เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย

ภูมิประเทศ
                   ฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีทะเลสาบและเกาะเป็นจำนวนมาก โดยมีทะเลสาบถึง 187,888 แห่ง (ที่มีเนื้อที่มากกว่า 500 ตารางเมตร) และมีเกาะถึง 179,584 เกาะ โดยทะเลสาบไซมา ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในฟินแลนด์ เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับห้าของยุโรป ภูมิประเทศทั่วไปของฟินแลนด์มีลักษณะเป็นที่ราบ ไม่มีภูเขามากนัก จุดสูงสุดของประเทศอยู่ที่ภูเขาฮัลติ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเขตแลปแลนด์ โดยมีความสูง 1,328 เมตร นอกจากทะเลสาบแล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ของฟินแลนด์ปกคลุมด้วยป่าสน และมีพื้นที่เพาะปลูกไม่มากนัก ฟินแลนด์มีเกาะที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ บริเวณหมู่เกาะโอลันด์ และตลอดแนวชายฝั่งทางใต้ในอ่าวฟินแลนด์ ฟินแลนด์เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศของโลกที่ยังคงมีขนาดใหญ่ขึ้น จากการยกตัวของแผ่นดินที่มีผลมาตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย
ทะเลสาบไซมา

ภูมิอากาศ
                      ภูมิอากาศทางตอนใต้ของฟินแลนด์เป็นแบบเขตอบอุ่น ทางตอนเหนือ โดยเฉพาะในเขตจังหวัดแลปแลนด์ มีภูมิอากาศแบบป่าสนหรือกึ่งอาร์กติก ซึ่งโดยทั่วไปจะหนาวเย็น มีฤดูหนาวที่รุนแรงในบางครั้ง และมีฤดูร้อนที่ค่อนข้างอบอุ่นโดยเปรียบเทียบ ฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมเพราะอยู่ใกล้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้มีภูมิอากาศที่ค่อนข้างอบอุ่นเมื่อเปรียบเทียบกับละติจูดที่อยู่สูงมาก
                  เนื้อที่ราวหนึ่งในสี่ของประเทศฟินแลนด์ตั้งอยู่เหนืออาร์กติกเซอร์เคิล ทำให้เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืนได้ ในจุดที่เหนือที่สุดของฟินแลนด์ พระอาทิตย์ไม่ตกดินเป็นเวลา 73 วันในช่วงฤดูร้อน และไม่ขึ้นเลยเป็นเวลา 51 วันในช่วงฤดูหนาว


ประวัติศาสตร์


            ภายใต้การปกครองของสวีเดน
                      เชื่อกันว่าจุดเริ่มต้นของความเกี่ยวพันระหว่างสวีเดนกับฟินแลนด์เริ่มต้นในปี พ.ศ. 1698 ในสงครามเผยแผ่คริสต์ศาสนา ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เริ่มมีการตั้งเมืองขึ้นในทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศที่โอบู (Åbo) หรือตุรกุ(Turku) โดยตุรกุเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของราชอาณาจักรสวีเดนในยุคนั้น ในช่วงศตวรรษนี้ มีชาวสวีเดนจำนวนมากที่เข้ามาตั้งรกรากบริเวณชายฝั่งทางใต้และตะวันตกเฉียงเหนือ บนหมู่เกาะโอลันด์ และหมู่เกาะอื่น ๆ ใกล้เคียง ซึ่งทำให้ภาษาสวีเดนยังคงเป็นภาษาหลักของภูมิภาคนี้มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ภาษาสวีเดนได้กลายมาเป็นภาษาของชนชั้นสูงในภาคอื่น ๆ ของฟินแลนด์ในยุคนั้นด้วย
                      พ.ศ. 2093 กษัตริย์ของสวีเดน สมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 1 ได้ทรงก่อตั้งเมืองเฮลซิงกิขึ้นในชื่อ "เฮลซิงฟอร์ส" (Helsingfors) แต่เมืองนี้คงสภาพเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงกว่าสองร้อยปี ชื่อเฮลซิงฟอร์สยังคงเป็นชื่อเมืองเฮลซิงกิในภาษาสวีเดนในปัจจุบัน  ดินแดนฟินแลนด์ถูกยึดครองโดยรัสเซียสองครั้งในพุทธศตวรรษที่ 23
             หลังการประกาศเอกราช
                      หลังจากการปฏิวัติบอลเชวิกในรัสเซียประสบความสำเร็จ รัฐสภาของฟินแลนด์ลงมติเห็นชอบในเรื่องการประกาศเอกราชของฟินแลนด์ ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2460 และรัฐบาลบอลเชวิกรัสเซีย ยอมรับการประกาศเอกราชในเกือบหนึ่งเดือนถัดมา ซึ่งเยอรมนีและชาติสแกนดิเนเวียอื่น ๆ ก็ยอมรับการประกาศเอกราชตามมาในทันที หลังจากการประกาศเอกราช ฟินแลนด์ก็ตกอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง โดยเกิดการต่อสู้ระหว่างฝ่าย"ขาว" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจักรวรรดิเยอรมนี และฝ่าย"แดง" ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียบอลเชวิก ฝ่ายขาวนั้นประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีฐานะค่อนข้างดี มีความเห็นทางการเมืองค่อนไปทางขวา ในขณะที่ฝ่ายแดงส่วนใหญ่ ซึ่งค่อนข้างจะเป็นฝ่ายซ้ายจะเป็นกลุ่มแรงงาน ฝ่ายขาวชนะสงครามนี้ในเวลาต่อมา ก่อตั้งสาธารณรัฐฟินแลนด์เป็นผลสำเร็จ
                     หลังจากสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลง รัฐสภาของฟินแลนด์ ซึ่งไม่มีสมาชิกของพรรคสังคมประชาธิปไตยซึ่งสนับสนุนสาธารณรัฐอยู่เลย ได้ประกาศตั้งราชอาณาจักรฟินแลนด์ขึ้น โดยเลือกเจ้าชายเฟเดอริก ชาลส์ แห่งแฮสส์ของเยอรมนี ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของฟินแลนด์ แต่เมื่อเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ความคิดนี้จึงต้องยกเลิกไป และฟินแลนด์ก็ประกาศเป็นสาธารณรัฐ โดยมีคาร์โล ยุโฮ สโตห์ลเบิร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก

สถาปัตยกรรม
                      สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลจากจักรวรรดิรัสเซีย โดยเฉพาะรูปแบบนีโอคลาสสิกตามแบบเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก คาร์ล ลุดวิก เองเกล ชาวเยอรมัน ทำหน้าที่เป็นสถาปนิกใหญ่ในโครงการสร้างเมืองใหม่นี้
                      สิ่งก่อสร้างที่สำคัญนี้คือมหาวิหาร (ในอดีตเรียกโบสถ์นิโคลัส) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจัตุรัส
มหาวิหารของเฮลซิงกิ

                        ทางทิศตะวันออกเป็นทำเนียบรัฐบาล  มีเสาหินแบบคอรินเธียน  เป็นผลงานของเองเกล
ทำเนียบรัฐบาล (Valtioneuvosto)

                        อิทธิพลของรัสเซียอีกอย่างหนึ่งคือโบสถ์ออร์โธดอกซ์ ซึ่งแห่งที่สำคัญของเฮลซิงกิคือมหาวิหารอุสเปนสกี ก่อสร้างในช่วงปีพ.ศ. 2405-2411
มหาวิหารอุสเปนสกี

                   เฮลซิงกิยังมีชื่อเสียงในด้านสถาปัตยกรรมแบบอาร์ตนูโว (Jugenstil) โดยมีสถาปนิกคนสำคัญคือเอเลียล ซาริเนน ในช่วงแรกซาริเนนร่วมงานกับสถาปนิกอีกสองคนในบริษัท Gesellius, Lindgren & Saarinen ผลงานที่สำคัญในเฮลซิงกิคือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ออกแบบในปีพ.ศ. 2445
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ

                          อาคารรัฐสภา (Eduskuntatalo) เป็นผลงานนีโอคลาสสิกชิ้นสำคัญของฟินแลนด์ยุคหลังประกาศเอกราช ออกแบบโดยโยฮัน ซิกฟริด ซิเรน ในปีพ.ศ. 2467 และสร้างเสร็จในปีพ.ศ. 2474 ภายหน้าอาคารเป็นเสาหินแบบคอรินเธียน 14 ต้น
 อาคารรัฐสภา

                         สถาปัตยกรรมแบบประโยชน์นิยม (อังกฤษ: functionalism) ได้รับความนิยมในฟินแลนด์ยุคใหม่ อัลวาร์ อาลโต เป็นสถาปนิกชาวฟินแลนด์ที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ โดยมีสิ่งก่อสร้างในเฮลซิงกิคือหอฟินแลนเดีย
หอฟินแลนเดีย

สถานที่ท่องเที่ยว

             Havis Amanda (น้ำพุธิดาแห่งทะเลบอลติก)

   
                         น้ำพุแห่งนี้เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของเมืองเฮลซิงกิ ที่ออกแบบโดย นายวิลเลย์ วาเกน สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ.1908 โดยปั้นรูปสาวงามให้เป็นตัวแทนของเมืองเฮลซิงกิ และคำว่าบอลติกนั้น ก็คือคาบสมุทรที่ตั้งของเมืองเฮลซิงกินั่นเอง นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ น้ำพุธิดาแห่งทะเลบอลติก ผู้คนที่นี่โดยเฉพาะนักศึกษามีความเชื่อว่า หากใครสามารถโยนหมวกขึ้นไปสวมที่ศีรษะของรูปปั้นได้ ก็จะประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษาและหน้าที่การงาน

                Senate Square (เซเนท สแควร์)


                      อยู่ไม่ไกลจาก น้ำพุธิดาแห่งบอลติก เป็นจัตุรัสกลางเมืองที่ใช้จัดกิจกรรมใหญ่ๆ และเป็นศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ของเมือง ใจกลางจัตุรัสมีอนุสาวรีย์พระเจ้าอเล็กซ์ซานเดอร์ ที่2 ประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ โดยรอบสแควร์ยังมีสถาปัตยกรรมแบบยุโรปที่งดงามให้ได้ชื่นชมกันอีกอย่างเช่น สถาปัตยกรรมของทำเนียบรัฐบาล มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ

             Market Square (มาร์เก็ต สแควร์)


                        คือตลาดสดกลางแจ้งที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาเยี่ยมชม และจับจ่ายซื้อของที่ระลึกติดไม้ติดมือ ตลาดแห่งนี้ขายตั้งแต่ของสดอย่าง ผัก ผลไม้ ปลา รวมไปถึงงานฝีมือที่ทำเป็นของที่ระลึกมาวางขายกันมากมาย

               Sibelius Monument (อนุสาวรีย์ ซิเบลิอุส)


                        ตั้งอยู่ใน Sibelius Park สร้างขึ้นเพื่อสดุดีให้แก่นักประพันธ์เพลงชื่อดังชาวฟินแลนด์นามว่า Jean Sibelius ซึ่งแต่งเพลงปลุกใจอย่างฟินแลนเดีย เพื่อปลุกให้ชาวฟินแลนด์ลุกขึ้นมาเรียกร้องเอกราชจากรัสเซีย เมื่อครั้งประวัติศาสตร์ที่ประเทศฟินแลนด์เคยตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของรัฐเซีย                
                      อนุสาวรีย์แห่งนี้มีรูปทรงที่สวยแปลกตา ออกแบบโดย Eila Hiltunen โดยใช้แท่งเหล็กจำนวน 600 แท่ง มาเชื่อมเข้าด้วยกันให้มีรูปร่างเหมือนออแกนลมที่มีความสูง 85 เมตร กว้าง 10.5 เมตร ลึก 6.5 เมตร น้ำหนัก 24 ตัน เป็นจุดเด่นกลางแจ้งที่ดึงดูดสายตานักท่องเที่ยวให้เข้าไปถ่ายภาพกัน

วัฒนธรรม
            ซาวน่า


                  การซาวน่าแบบฟินแลนด์ เป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมฟินแลนด์ ในฟินแลนด์มีซาวน่าถึงกว่าสองล้านแห่ง เทียบกับจำนวนประชากรห้าล้านคนของประเทศ โดยเฉลี่ยแล้วจะมีซาวน่าหนึ่งแห่งต่อครัวเรือน สำหรับชาวฟินแลนด์แล้ว ซาวน่าเป็นสถานที่สำหรับผ่อนคลายกับครอบครัวและเพื่อนฝูง และผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ

              อาหาร
                   อาหารฟินแลนด์มักมีลักษณะเรียบง่าย และมักได้รับการกล่าวถึงในด้านความเป็นมิตรต่อสุขภาพ ส่วนประกอบที่สำคัญคือปลา เนื้อสัตว์ เบอร์รี และผักต่างๆ ในขณะที่การใช้เครื่องเทศต่างๆมีไม่มากนัก ตัวอย่างอาหารที่สำคัญของฟินแลนด์ที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ได้แก่
             ruisleipä (ขนมปังข้าวไรย์ เป็นขนมปังที่มีสีเข้มและมีรสเปรี้ยว)

             และ karjalanpiirakka (พายคาเรเลีย แป้งกรอบสอดไส้ข้าว) เป็นอาหารพื้นบ้านของฟินแลนด์ มีต้นกำเนิดจากเขตคาเรเลียทางตะวันออกของฟินแลนด์




แหล่งอ้างอิง :
http://www.sayyawetravel.com/Search/newest-first.html?searchphrase=exact&searchword=ทัวร์  
         ฟินแลนด์&submit=Search
http://www.sayyawetravel.com/ทัวร์ยุโรป/EURD45-ทัวร์ยุโรป-เที่ยวยุโรป-ทัวร์ฟินแลนด์ยุโรปเหนือ-7-วัน-AY.html
https://docs.google.com/file/d/0B5KEcPDjZxDlZ0FnVzU2WFRrYlU/edit
http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศฟินแลนด์
http://th.wikipedia.org/wiki/เฮลซิงกิ
http://travel.kapook.com/view36687.html



สมาชิกในกลุ่ม
         1.นางสาวพิริยา        ดัดพันธ์        เลขทะเบียน 520108010245  คณะ IT  สาขา BIT
         2.นางสาวพนิดา       ใจกล้า          เลขทะเบียน 520108010256  คณะ IT  สาขา BIT
       3.นางสาวนงลักษณ์  พันธ์ประสิทธิ์  เลขทะเบียน 520108010275  คณะ IT  สาขา BIT
วิชาศิลปวัฒนธรรมตะวันตกเพื่อการนำเที่ยว (HT325)  กลุ่มเรียน 512

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเทศโครเอเชีย

โครเอเชีย


               ประเทศโครเอเชีย หรือ สาธารณรัฐโครเอเชีย (Republic of Croatia) เป็นประเทศรูปเสี้ยววงเดือนในยุโรปที่มีอาณาเขตจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และบอลข่าน เมืองหลวงชื่อซาเกร็บ ในประวัติศาสตร์ปัจจุบัน โครเอเชียเคยเป็นสาธารณรัฐในยูโกสลาเวียเดิม แต่ได้รับเอกราชในพ.ศ. 2534 และได้สมัครเพื่อเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในอนาคต

ลักษณะภูมิประเทศ
                 โครเอเชียตั้งอยู่ระหว่างภูมิภาคยุโรปกลาง ภูมิภาคยุโรปใต้ และภูมิภาคยุโรปตะวันออก รูปร่างของประเทศคล้ายกับพระจันทร์เสี้ยวหรือเกือกม้า ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ได้แก่ สโลวีเนีย ฮังการี เซอร์เบีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร และอิตาลี (อีกฟากหนึ่งของทะเลเอเดรียติก) โดยแผ่นดินใหญ่ของโครเอเชียถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนไม่ติดต่อกันโดยชายฝั่งทะเลสั้น ๆ ของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา รอบ ๆ เมืองเนอุม (Neum)

                     ภูมิประเทศของโครเอเชียมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่
  • ที่ราบ ทะเลสาบ และเนินเขา ทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ (ภูมิภาคเซนทรัลโครเอเชียและสลาโวเนีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบแพนโนเนีย)
  • ภูเขาที่มีป่าไม้หนาแน่นในภูมิภาคลีคาและกอร์สกีคอตาร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดินาริกแอลป์
  • ชายฝั่งทะเลเอเดรียติกที่เต็มไปด้วยโขดหิน (ภูมิภาคอิสเตรีย นอร์เทิร์นซีโคสต์ และดัลเมเชีย)
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป



                   ชาวโครอัทอพยพมาจากทางเหนือของยุโรป ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 และอยู่ภายใต้อาณาจักรไบแซนไทน์จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 จากนั้นตั้งตนเป็นรัฐอิสระ จนกระทั่งถูกผนวกอยู่ภายใต้อาณาจักรออสโตร-ฮังการีในปี 1645 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1
               หลังจากอาณาจักรออสโตร-ฮังการีล่มสลายลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวเซิร์บ โครอัท และสโลวีน ได้ร่วมกันสถาปนารัฐอิสระขึ้นในเดือนตุลาคม 2461 และในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน รัฐอิสระดังกล่าวได้รวมกับอาณาจักรเซอร์เบีย กลายเป็นอาณาจักรเซิร์บ โครอัท และสโลวีน และในปี 2472 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นยูโกสลาเวีย
                 ในปี 2484 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพนาซีเยอรมันได้บุกเข้ายึดครองดินแดนบางส่วนของยูโกสลาเวีย และตั้งรัฐอิสระ “Greater Croatia” พร้อมทั้งจัดตั้งรัฐบาลหุ่นภายใต้การนำของนาย Ante Pavelic ซึ่งได้สังหารชาวเซิร์บ ยิว และยิปซี เป็นจำนวนหลายแสนคน ในขณะที่กองทัพอิตาลีได้บุกเข้ายึดดินแดน Istria และพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล
                    เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ได้มีการจัดตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียในปี 2488 โดยรวม 6 สาธารณรัฐและมณฑลอิสระปกครองตนเอง 2 มณฑล ได้แก่ เซอร์เบีย โครเอเชีย สโลวีเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวินา มอนเตเนโกร มาซิโดเนีย และมณฑลโคโซโวและวอยโวดินา ภายใต้การนำของจอมพลติโต (Marshall Josip Broz Tito) ชาวโครอัท ซึ่งปกครองประเทศตามระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ จอมพลติโตสามารถควบคุมสถานการณ์ความแตกแยกระหว่างเชื้อชาติไว้ได้ระดับหนึ่ง ด้วยการยกให้ชาวเซิร์บ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย มีอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มากกว่าเชื้อชาติอื่นๆ การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ถึงแม้จะสร้างความเป็นเอกภาพให้แก่ยูโกสลาเวีย แต่ความแตกแยกโดยพื้นฐานของประเทศยังคงมีอยู่ ดังนั้น เมื่อจอมพลติโตถึงแก่อสัญกรรมในปี 2523 กระบวนการสู้รบแบ่งแยกดินแดนจึงเริ่มรุนแรงขึ้น
                 ภายหลังจากที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคยุโรปตะวันออกได้ล่มสลายลงในปี 2532 ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชของสาธารณรัฐต่างๆ ในยูโกสลาเวียเริ่มก่อตัวขึ้น โครเอเชียได้จัดการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2533 และประธานาธิบดี Franjo Tudjman ได้รับเลือกตั้ง ต่อมา ในวันที่ 25 มิถุนายน 2534 โครเอเชียและสโลวีเนียได้ประกาศเอกราชจากสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
                 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้ให้การรับรองเอกราชสาธารณรัฐโครเอเชีย และสโลวีเนีย เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535 และบอสเนียและเฮอร์เซโกวินา เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2535 เป็นผลให้หลายประเทศในยุโรปให้การรับรองประเทศดังกล่าวในเวลาต่อมา และเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2535 สหรัฐฯ ได้ให้การรับรองสโลวีเนีย โครเอเชีย และบอสเนียและเฮอร์เซโกวินา สำหรับไทยเป็นประเทศอาเซียนประเทศแรกที่ให้การรับรองโครเอเชียและสโลวีเนีย เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2535

ตัวอย่างสถาปัตยกรรม

                             มหาวิหารเซนต์สตีเฟน (St. Stephen's Cathedral)


                มียอดแหลมทรงกลวยคู่บนยอดวิหารตกแต่งอย่างงดงาม สามารถเห็นได้จากทุกมุมในซาเกรบ แต่เดิมเป็นโบสถ์ธรรมดา แต่เริ่มมีความสำคัญในปี ค.ศ. 1094
             เมื่อกษัตริย์ ลาดีสลาอุส (King Ladislaus) ได้ให้พระราชาคณะย้ายที่พำนักจากสีสัก (Sisak) มายังซาเกรบ แต่ก็ถูกกองทัพมองโกลทำลายในปี ค.ศ. 1242 เมื่อมองโกล จากไป โบสถ์นี้ก็ได้รับการซ่อมแซมใหม่ และ ขยับขยาย ในอีกหลายครั้งต่อมา รูปร่างมหาวิหารที่งดงามในรูปแบบนิโอ กอธิคที่เห็นในปัจจุบัน เป็นการก่อสร้างในปี ค.ศ. 1880

                                โบสถ์เซนต์แคทเทอรีน


               เป็นโบสถ์รูปแบบบาโรคสีขาวที่น่าประทับใจ

                               โรงละครแห่งชาติโครเอเชีย (Croatian National Theatre)


                โรงละครแห่งนี้ตั้งอยู่ในย่านเมืองเก่าของเมืองซาเกร็บ โดยสร้างขึ้นในปี 1895 โดยรูปแบบของอาคารนั้นสร้างขึ้นในสไตล์นีโอบาร็อค มีลักษณะเป็นรูปตัว U และรายรอบไปด้วยสวนสาธารณะจนได้รับสมญานามว่า “The Green Horse shoe”

                                มหาวิหารเซนต์จาคอป (Cathedral of St.Jacob)


                     สร้างขึ้นในระหว่างปี 1431-1535 เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานกันระหว่าง 3 ศิลปกรรม คือ ดาลมาเชีย (ท้องถิ่น) ศิลปะทางเหนือของอิตาลี และ ทัสคานี ทั้งวิหารล้วนสร้างด้วยหินทั้งหมด ไม่มีซีเมนต์ บัวใต้ชายคาเป็นรูปศีรษะคน 71 ชิ้น ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะโกธิกและเรอเนซองส์ ซึ่งผสมผสานเข้ากันได้อย่างงดงาม แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านงานศิลปะจากยุคโกธิก สู่ยุคเรอเนซองส์ ซึ่งองค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในปี ค.ศ. 2000 

สถานที่ท่องเที่ยว
                              อุทยานแห่งชาติทะเลสาบพลิตวิเซ (Plitvice Lakes National Park)



                    ความงามที่พิสุทธิ์ใสของ อุทยานแห่งชาติทะเลสาบพลิตวิเซ (Plitvice Lakes National Park) ถือเป็นความงามที่นักเดินทางหลายคนต่างก็พูดถึงไม่เคยคลายในทุกสมัย ซึ่งทะเลสาบแห่งนี้เกิดจากน้ำบนภูเขา มาลาคาเปลา (Mala Kapela) ไหลผ่านหินปูนนับเป็นพัน ๆ ปี จึงทำให้หินปูนที่ถูกกัดเซาะไหลลงมากองรวมกันเป็นระยะ ๆ เกิดเป็นเขื่อนธรรมชาติที่งามแปลกตา ทั้งยังมีความสูงลดหลั่นกันลงไปถึง 16 ชั้น ซึ่งก็ส่งผลให้สถานที่แห่งนี้มีน้ำตกถึง 16 แห่ง เป็นต้นธารก่อนที่จะไหลไปรวมกันเป็นทะเลสาบใหญ่เบื้องล่าง 
                 ความงามของที่นี่อีกอย่าง ก็คือราวป่าที่อยู่รายล้อมซึ่งอุดมไปด้วยต้นไม้เขตอบอุ่นหลากสายพันธุ์ ด้วยความที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่แปลกตาทั้งยังมีความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์ องค์การยูเนสโกจึงได้รับเอาไว้เป็น มรดกโลกทางธรรมชาติตั้งแต่ปี ค.ศ.1979

                                   เมืองดูบรอฟนิก (Dubrovnik)


                    ด้วยภูมิประเทศที่เรียบเลาะไปกับชายทะเล ขณะที่ส่วนที่เป็นแผ่นดินก็เป็นเนินเขาสูงต่ำสลับกันไปรวมถึงอาคารบ้านเรือนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งหลายต่างก็ต้องมนต์สะกดของเมืองดูบรอฟนิก (Dubrovnik) ที่สำคัญยังทำให้เมืองงามแห่งนี้ ครองฉายาว่าเป็น “ไข่มุกแห่งทะเลอะเดรียติก” เมืองดูบรอฟนิกตั้งอยู่ทางตอนใต้ของโครเอเชียชื่อเสียงที่เลื่องลือที่สุดของเมืองนี้ก็ต้องยกให้เรื่องการทำฟาร์มเลี้ยงหอยนางรม หอยแมลงภู่ ริมทะเลอะเดรียติก ดังนั้น เมื่อมาเยือนดูบรอฟนิกหากไม่ได้ลิ้มลองรสชาติอันโชะของหอยนางรมและหอยแมลงภู่ตัวโตๆ แกล้มไวน์ขาวรสเยี่ยมแล้วละก็บอกได้คำเดียวว่าน่าเสียดายอย่างยิ่ง
                    ในขณะที่ย่านเมืองเก่าของดูบรอฟนิกก็น่าไปเยี่ยมชมไม่น้อย เขตเมืองเก่าแห่งนี้มีสิ่งก่อสร้างที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกหลายสถานที่ไม่ว่าจะเป็น บ่อน้ำพุประจำเมือง (Onofrio Fountain) ซึ่งเป็นบ่อน้ำพุที่ใช้หล่อเลี้ยงผู้คนในยามศึกสงครามเรื่อยมา จนถึงหอนาฬิกากลางเมืองที่ตั้งอยู่ ณ ส่วนปลายสุดของถนนสายหลัก ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1444 ความพิเศษของนาฬิกาเรือนนี้ก็คือลูกกลม ๆ ใต้หน้าปัดซึ่งแทนพระจันทร์ใช้บอกเวลาข้างขึ้นข้างแรมในทางจันทรคติ เล่ากันว่าภายในย่านเมืองเก่าแห่งนี้ถือเป็นเขตชุมชนแรกที่บรรพบุรุษชาวดูบรอฟนิกมาสร้างบ้านเมืองในศตวรรษที่ 7

                                   เมืองสปติต (Split)



                 เมืองใหญ่อันดับที่ 2 รองจากกรุงชาเกร็บ ถือเป็นอีกหนึ่งปลายทางของนักเดินทาง หลายคนที่ได้ไปเยือนต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าเธองามดั่งสวรรค์บนดิน ในครั้งโบราณนั้น สปลิตถือเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์และศูนย์กลางทางการเมือง รวมถึงยังเป็นแหล่งบ่มเพาะอารยธรรมศิลป์ของแคว้นดัลเมเชียน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมืองแห่งนี้จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งแรก ๆ ของโลก 
                 สิ่งที่ควรชมในเมืองสปลิตคือ พระราชวังดิโอคลีเทียน (Diocletian Palace) ที่สถาปนาขึ้นจากพระประสงค์ของจักรพรรดิดิโอคลีเทียน เล่ากันว่าใช้เวลาในการก่อสร้างยาวนานถึง 50 ปี ที่โดดเด่นที่สุดก็คือท้องพระโรงกลางอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตรงเสาโค้งมนที่แต่งด้วยช่อดอกไม้สลักจากหินอันอ่อนช้อยสิ่งสะท้อนความงดงามของพระราชวังดิโอคลีเทียนก็คือกวีชาวโครเอเชียในทุกยุคต่างก็ได้สรรเสริญความงามของสถานที่แห่งนี้ไว้ในงานประพันธ์ของตัวเองแทบทั้งสิ้น


อาหาร
                   อาหารพื้นเมืองของชาวโครแอตไม่ต่างจากอาหารแบบยุโรปโดยทั่วไป ในกรุงชาเกร็บมีร้านอาหารให้เลือกมากมาย ที่เป็นเอกลักษณ์ก็คือร้านกาแฟในสไตล์ Side-Walk Cafe ที่เน้นการเสพบรรยากาศดี ๆ เคล้ากาแฟรสละมุนลิ้น ส่วนเมนูอร่อยที่ควรชิมก็คือไส้กรอก Spek  และ Kulen ซึ่งเป็นอาหารเฉพาะถิ่น ในขณะที่ขนมหวานขึ้นชื่อของโครเอเชียก็คือคุกกี้รูปหัวใจเคลือบน้ำตาลสีแดงที่มีรสชาติหวานมันลงตัวในขณะที่ขนมหวานขึ้นชื่อของโครเอเชียก็คือคุกกี้รูปหัวใจเคลือบน้ำตาลสีแดงที่มีรสชาติหวานมันลงตัว



ตัวอย่างของที่ระลึก





แหล่งอ้างอิง :
http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศโครเอเชีย
http://www.abroad-tour.com/croatia/st.stephen_cathedral/
http://travel.kapook.com/view17485.html
http://board.trekkingthai.com/board/show.php?forum_id=2&topic_no=270954&topic_id=274751
http://www.jidapaenter.com/ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศโครเอเชีย
http://www.ilovetogo.com/โครเอเชีย-ตระการตา-"อุทยานมรดกโลก"


                                                                       สมาชิกในกลุ่ม
           1.นางสาวพิริยา       ดัดพันธ์         เลขทะเบียน 520108010245  คณะ IT  สาขา BIT
         2.นางสาวพนิดา       ใจกล้า          เลขทะเบียน 520108010256  คณะ IT  สาขา BIT
      3.นางสาวนงลักษณ์  พันธ์ประสิทธิ์  เลขทะเบียน 520108010275  คณะ IT  สาขา BIT
วิชา ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกเพื่อการนำเที่ยว (HT325) กลุ่มเรียนที่ 512

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

สัญลักษณ์รัฐประเทศสวิตฯ


ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นประเทศที่ก่อกำเนิดโดยการรวมตัวกันของ26 เมืองในปี 1848 โดยที่เมืองแต่ละเมืองเคยเป็นเมืองที่ อยู่ด้วยตัวเอง ปกครองตัวเอง มีขอบเขตเมืองที่ชัดเจน มีทหารและสกุลเงินเป็นของตัวเอง จนกระทั่ง มีการรวมตัวกัน ก่อตั้งจนเป็นประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เมืองที่เกิดขึ้นมาใหม่ล่าสุด คือเมือง Jura เป็นเมืองที่แยกตัวออกมาจากเมือง bern ในปี 1979 ในศตวรรษที่ 16 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประกอบไปด้วยเมืองเพียง 13 เมือง โดยเมืองต่างๆได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบตัวเมือง 7 เมือง และเมือง แบบป่า อีก 6 เมือง
ถึงแม้ว่าเมืองทั้งหมดจะเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน แต่เมืองทั้งหมดก็ได้เป็นอิสระจากอาณาจักรโรมันในปี 1499 ในช่วงเวลาที่สวิตเซอร์แลนด์ชนะจักรพรรดิ Maximillus
หลังจากนั้น เมืองทั้ง 6 เมืองที่เป็นเมืองดินแดนป่า ได้กลายเป็นรัฐที่ปกครองโดยประชาธิปไตย ในขณะที่เมืองอีก 7 เมือง ถูกปกครองโดยครอบครัวเศรษฐีคนรวยของเมืองนั้นๆ
ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นเหมือนกับธงของรัฐยุโรปในยุคกลาง ซึ่งเป็นเพียงสี่เหลี่ยมเรียบๆกับเครื่องหมายไม้กางเขน ก่อนหน้านี้ เมืองต่างๆในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้มีธงเหมือนกัน แต่หลังจากการก่อตั้งเป็นประเทศ จึงได้มีการหยิบยืมเครื่องหมายต่างๆมาใช้รวมกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน นอกเหนือจากธงของวาติกันแล้ว ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็เป็นประเทศเดียวที่มีลักษณะของธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

แต่ละเมืองได้มีการใช้สัญลักษณ์แทนตัวเอง นั่นก็คือธง

Aargau



ธงนี้ได้ถูกใช้ครั้งแรกในปีแรกในปี 1803 ลายคลื่นสีขาวบนพื้นสีดำ หมายถึง แม่น้ำ Aare และดาวสีขาวบนพื้นสีน้ำเงิน หมายถึง เขตสามเขตของเมืองนี้ คือได้แก่ Baden, Free Areas, Fricktal ตอนแรก ดาวทั้งสามดวงได้ถูกเรียงกันเป็นแถวแนวยาว แต่ต่อมาในปี 1963 ได้มีการเรียงดาวใหม่เป็นดาวสองดวงกับดาวหนึ่งดวง


Appenzell Ausserrhoden




เป็นปีที่เมืองนี้ได้แยกตัวออกมาจากเมือง Appenzell Innerrhoden ซึ่งยังคงใช้สัญลักษณ์หมีจากเมืองเก่า แต่ได้เพิ่ม ตัวอักษรV และ R ซึ่งเป็นตัวย่อของ Ussroden สัญลักษณ์หมีนี้ได้ใช้ตั้งแต่ยุคกลางในปี 1403 เป็นสัญลักษณ์แทนเมืองที่ใช้ในการออกรบของในยุคนั้น


Appenzell Innerrhoden




ธงนี้เป็นธงดั้งเดิมตั้งแต่ปี 1597 ก่อนที่เมืองจะแยกออกเป็น 2 เมือง คือ Appenzell Innerrhoden และ Appenzell Ausserrhoden


Basel Land





เมืองนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 1832 ธงนี้ได้มีการเริ่มใช้ครั้งแรกในปี 1834 ซึ่งได้แบบมาจากคฑาของเจ้าเมือง ที่หัวคฑาหันไปทางด้านขวา พร้อมกับมีการตกแต่งด้วยรูปทรงวงกลมเล็กๆ แต่ต่อมา ได้มีการ นำธงนี้มาใช้อย่างเป็นทางการในปี 1947


Basel Stadt




สัญลักษณ์ของเมืองนี้ ได้มาจากหัวคฑาของหัวหน้าบาทหลวงของเมือง ได้ใช้มานานตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 15 ซึ่งใช้เป็นสีขาวดำมาตลอด ไม่มีการเพิ่มสีให้กับสัญลักษณ์เมืองนี้ ถึงแม้ว่าจะได้มีการแบ่งเมืองออกเป็น 2 เมือง คือ Basel Land และ Basel Stadt


Bern




ธงนี้เริ่มใช้ในศตวรรษที่ 12 เป็นสัญลักษณ์หมีเช่นเดียวกับเมือง Appenzell เพราะมีการออกรบแย่งดินแดนเหมือนกัน เมืองนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์มาโดยตลอด แต่ๆละแบบก็ได้ใช้แค่เพียงช่วงเวลาสั้นๆ จนในที่สุดก็ได้กลับมาใช้แบบเดิม ชื่อของหมีบนธงนี้มีชื่อเดียวกับเมือง ซึ่งก็คือ Bern


Fribourg



สีประจำเมืองนี้ คือ สีขาวดำ เลยถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ธงประจำของเมือง และธงนี้มีความเกี่ยวข้องกับตราแผ่นดินของประเทศสวิตเซอร์แลนด์


Geneva



นกอินทรีบนธงนี้ เป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของอาณาจักรโรมันศักดิ์สิทธิ์ และ กุญแจหมายถึงกุญแจของโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ เหตุผลที่ใช้สัญลักษณ์นี้ เพราะต้องการสื่อความหมายว่า เมืองนี้เป็นประตูเมืองของประเทศ ธงนี้เริ่มใช้ในปี 1815 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน


Glarus




สัญลักษณ์บนธงเป็นรูปของนักบุญ Fridolin ซึ่งเป็นนักบุญประจำเมืองนี้ วางอยู่บนพื้นหลังสีแดง ธงนี้เริ่มใช้ในปี 1352


Graubünden



เนื่องจากเมืองนี้เป็นการรวมตัวของเมือง 3 เมือง ธงเลยได้รวบรวมสัญลักษณ์ของเมืองทั้ง 3 ไว้ด้วยกันเป็นธงประจำเมืองนี้ Graubunden, Zehgerichtenbund, Gotteshausbund


Jura




เมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของเมือง Basel Land ซึ่งแยกออกมาภายหลัง เลยได้เอาสัญลักษณ์คฑามาใช้ด้วย ส่วนลายทางเป็นสัญลักษณ์ของตราเมืองเลยได้นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของธงเช่นกัน ธงนี้เริ่มใช้ในปี 1978


Lucerne




ในปี 1332 เมืองนี้เป็นเมืองที่ 4 ที่ได้เข้าร่วมกับการรวมตัวก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สัญลักษณ์บนธงนี้ ได้นำเพียงสีของเมืองมาใช้ คือ สีขาวฟ้า แล้วเรียงเป็นลายทางแนวขวาง


Neuchâtel




สีทั้ง 3 ของธงนี้มาจากสีประจำเมือง ได้เริ่มใช้ในปี 1848 ภายหลังได้เพิ่มสัญลักษณ์ไม้กางเขน เพื่อแสดงถึงความเกี่ยวข้องกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์


Nidwalden




สัญลักษณ์บนธงของเมืองนี้ หมายถึง กุญแจของเซนต์ปีเตอร์ แต่มีสองแฉก


Obwalden




สัญลักษณ์บนธงของเมืองนี้ หมายถึง กุญแจของเซนต์ปีเตอร์ เช่นเดียวกับเมือง Nidwalden เพราะตอนแรกทั้งสองเมืองนี้คือเมืองเดียวกัน แต่พอแยกเมืองออกมา เมือง Obwalden ก็ยังคงใช้สัญลักษณ์เดิม แต่เหลือกุญแจเพียงแค่แฉกเดียว


Schaffhausen




ธงนี้เริ่มใช้ในศตวรรษที่ 14 เป็นสัญลักษณ์รูปแกะ เพราะเมืองนี้มีคำว่า แกะ อยู่ในชื่อเมือง


Sankt Gallen




สัญลักษณ์บนธงนี้คือ มัดไม้ที่หุ้มขวานที่มีใบขวานโผล่ออกมา ซึ่งหมายถึงการมีอำนาจการปกครองชั้นสูงของกรุงโรมโบราณ และหมายถึงสาธารณรัฐด้วย ธงนี้ได้นำมาใช้ในปี 1803


Schwyz




เมืองนี้เป็น 1 ใน 3 เมืองแรกของการรวมตัวก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งชื่อของเมืองนี้อ่านว่า สวิต เลยได้นำชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อประเทศ ธงนี้นำมาใช้ครั้งแรกในปี 1291


Solothurn




ธงนี้นำมาใช้ในปี 1394 สัญลักษณ์ของธงคือการนำเอาสีประจำประเทศมาใช้ เพราะตอนแรกธงของเมืองนี้เป็นพื้นแดง ไม้กางเขนขาว แต่ธงนั้นได้นำไปใช้เป็นธงประจำประเทศไปแล้ว


Thurgau




ธงนี้นำมาใช้ในปี 1803 เป็นสัญลักษณ์สิงโตตั้งผู้กับตัวเมียสองตัว ซึ่งนำมาจากตราของเมืองที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ


Tessin



สีของธงนี้นำมาจากสีของประเทศฝรั่งเศสสามสี คือ แดง ขาว น้ำเงิน แต่ตัดสีขาวออก และสีแดง น้ำเงิน นี้ คือสีหลักของเรือประจำเมือง


Uri



สัญลักษณ์บนธงนี้คือรูปกระทิง ซึ่งเกี่ยวข้องกับชื่อเมือง ธงนี้ได้เริ่มใช้ในศตวรรษที่ 13 แต่ยังไม่มีห่วงสีแดง ห่วงนี้ได้เพิ่มมาภายหลัง


Valais




ตอนแรกธงนี้มีดวง ดาวเพียง แค่7 ดวง แต่ในปี 1802 ได้เพิ่มดาวเป็น 12 ดวง เพื่อที่เมืองนี้ได้เข้าร่วมเป็นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1814


Vaud



สีที่ใช้เป็นสัญลักษณ์บนธงนี้ หมายถึง อิสรภาพ และเมืองนี้ได้เข้าร่วมเป็นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1803 คำที่เขียนอยู่บนธงเป็นคำขวัญประจำเมือง ซึ่งมีความหมายว่า อิสรภาพ และ ปิตุภูมิ


Zug



เมืองนี้ได้เข้าร่วมในการกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1352 แต่ถูกออสเตรียยึดครองช่วงหนึ่ง และกลับเข้ามารวมกับสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งในปี 1364 ดั้งเดิมสีธงเป็นสีแดงขาว แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็นน้ำเงินขาว ซึ่งมาจากตราประจำเมือง


Zürich




ธงนี้เริ่มใช้ในปี 1351 ซึ่งเป็นปีที่เมืองนี้ได้เข้ารวมกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากปี 1957 ได้มีข้อบังคับให้ใช้ธงนี้ในรูปแบบเดียวกันกับเกาะของเมือง


แหล่งอ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/สวิตเซอร์แลนด์