วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ยุคหลังลัทธิอิมเพรสชันนิสม์

Fauvism

ศิลปะลัทธิโฟวิสม์  
  • หมายถึง  ลัทธิสัตว์ป่า
  • ผลงานลัทธิโฟวิสม์ใช้สีสันโฉ่งฉ่าง แสดงถึงความเป็นปฏิปักษ์กันอย่างเห็นได้ชัด
ศิลปินลัทธิโฟวิสม์
         มาทีสส์ ( Matisse  Henri )
  • อายุ 22 ปี  เรียนศิลปะฆ่าเวลา / เบื่อหน่ายตอนป่วย
  • งานสำคัญคือ  ภาพเปลือยกับลวดลายเบื้องหลัง และ ห้องสีแดง
ตัวอย่างผลงานของมาทีสส์

"Seated Riffian"

"The dessert harmony in red"

Expressionism

ศิลปะลัทธิเอ็กเพรสชันนิสม์
  • หมายถึง การแสดงออกทางศิลปะที่ตัดทอนรูปทรงและสีสันอย่างเสรีที่สุดตามแรงปรารถนา
  • ศิลปะเอ็กเพรสชันนิสม์ที่สำคัญมี 2 กลุ่ม  คือ  กลุ่มสะพานและกลุ่มม้าสีน้ำเงิน
กลุ่มสะพาน
  • เป็นการรวมตัวของศิลปินวัยหนุ่มอายุ 20-30 ปี
  • สะท้อนความสับสน  ความอัปลักษณ์ของสังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง  และศาสนา  ความสกปรกของสังคม  ความเหลวแหลก  โสมม  หลอกลวง
  • ใช้สีที่รุนแรง
  • สลายตัว ค.ศ.1913  จากปัญหาวิกฤตสังคมและสงครามโลกครั้งที่ 1
แนวทางการสร้างสรรค์งานของกลุ่มสะพาน
  • กลุ่มสะพานสะท้อนเรื่องราวทางศาสนาด้วยความรู้สึกโหดร้าย  น่าขยะแขยง  น่าเกลียด  แสดงความรัก  กามารมณ์และความตาย  เตือนให้สังคมตระหนักในความไม่แน่นอน
  • ภาพส่วนใหญ่เน้นแสดงออกทางจิตวิทยามากกว่าความจริง
กลุ่มม้าสีน้ำเงิน
  • เริ่มเคลื่อนไหว ค.ศ.1911 ที่มิวนิค
  • แกนนำคือ  วาสิลี  แคนดินสกี  กับ  ฟรอนซ์  มาร์ค
  • ศิลปินต่างชาติที่เข้าร่วม  ได้แก่  ชาวรัสเซียน  สวิส  อเมริกัน ฯลฯ
  • ชื่อลัทธิมาจากความนิยมในการเขียนรูปม้า  โดยใช้สีน้ำเงินเป็นหลัก
  • สลายตัว  ค.ศ.1914
แนวทางการสร้างสรรค์งานของกลุ่มม้าสีน้ำเงิน
  • ผ่อนคลายการกระแทกความรู้สึกของผู้ชมจากความรู้สึกน่าขยะแขยง
  • ได้รับอิทธิพลของโกแกงมากกว่าแวนโก๊ะ
  • เป็นการแสดงออกทางอารมณ์แบบรุนแรงที่แฝงความสนุกสนาน
  • ใช้สี  เส้นและการแสดงลีลาคล้ายดนตรี
ผลงานของ Emil Nolde

"Adam and Eve Banished from Paradise"

"Stormy sea"


ศิลปินลัทธิเอ็กเพรสชันนิสม์
           เอ็ดวาร์ด  มูงค์ ( Edvard  Munch )
  • เป็นผู้นำและผู้ให้อิทธิพลแก่ศิลปินกลุ่มเอ็กเพรสชันนิสม์  เกิดวันที่ 12 ธันวาคม 1863  ทางภาคใต้ของนอร์เวย์
  • เป็นเด็กขี้โรค  เจ็บออดๆแอดๆ
  • เรื่องราวของความเจ็บป่วย  และความตาย  ปรากฏอย่างมากในผลงานของเขา
  • ผลงานที่มีชื่อเสียงของมูงค์คือ  ภาพเสียงร้องไห้ ( The Cry )  ซึ่งเขียนในปี ค.ศ.1893
ตัวอย่างผลงานของเอ็ดวาร์ด

"The Scream"

"The Murderess"

Cubism

ศิลปะลัทธิคิวบิสม์
  • ลัทธิคิวบิสม์ได้แนวคิด  และอิทธิพลการถ่ายทอดสิ่งแวดล้อมผ่านการสร้างเป็นรูปทรงที่เรียบง่าย
  • แทนค่ารูปทรงด้วยแสงสีอันระยิบระยับ  ให้บรรยากาศตามช่วงเวลานั้นๆ
  • นักประวัติศาสตร์ศิลปะและนักวิจารณ์ศิลปะบางคนเรียกผลงานคิวบิสม์ระยะแรกว่า  "ศิลปะแบบเซซานน์"  หรือ  "Cezannesque"
แนวทางการสร้างสรรค์งานของศิลปะลัทธิคิวบิสม์
  • ตัดทอน  ย่อส่วน  เพิ่มเติม  และตกแต่งรูปทรงของวัตถุ  ถือหลักการเพิ่มส่วนประกอบ  เพื่อให้ผลงานสมบูรณ์
  • คำนึงถึงรูปทรงเปิดและปิด  โดยพิจารณาความสัมพันธ์ของพื้นที่ว่างในส่วนรูปทรงและพื้นผิว
  • คำนึงถึงความตื้นลึกด้วยรูปทรง  ขนาด  การทับซ้อนกัน  การบังคับและทำให้โปร่งใสคล้ายภาพเอ็กซเรย์
  • เปิดโอกาสให้ผู้ดูมีเสรีภาพในการใช้ปัญญาพินิจพิจารณาด้วยตนเอง
  • คำนึงถึงความกลมกลืนของทัศนธาตุ ( เส้น  สี  แสงเงา  รูปร่าง  ลักษณะผิว )
  • คำนึงถึงส่วนย่อยและส่วนรวมพร้อมกัน  เพื่อให้เกิดความกลมกลืน
  • นำเอาวัสดุจริงมาปะติดกัน  เพื่อให้เกิดความรู้สึกสัมผัส  จนเกิดเป็นวิธีการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า  ศิลปะตัดแปะ ( Collage)  หรือ  The art assemblage
ศิลปินลัทธิคิวบิสม์
          ปาโบล  ปิคัสโซ ( Pablo Picasso )
  • เกิดที่สเปน  ใน ค.ศ. 1881  บิดาเป็นจิตรกร
  • ศึกษาศิลปะครั้งแรกที่เมืองบาร์เซโลนาและเดินทางไปอยู่กรุงปารีส ค.ศ.1900
  • เสียชีวิต ค.ศ.1973
  • ปิคัสโซเป็นศิลปินหัวก้าวหน้า  
  • ใช้สีวรรณะเย็นดูเศร้าหมองแบบยุคม้าสีน้ำเงิน  สะท้อนชีวิตที่ลำบากของเขา
  • ในปี ค.ศ.1905 ปิคัสโซพัฒนาผลงานสู่การใช้สีที่สดใสร้อนแรงง
  • ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดชิ้นหนึ่งคือ  ภาพเกอนีแค ( Quernica ) ค.ศ.1937  เพื่อแสดงการสนับสนุนรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐของสเปน
ตัวอย่างผลงานของปิคัสโซ

"The Weeping Woman"

"Guernica"

                   จอร์จ  บราค
  • เกิดที่เมืองเลออาร์ฟ  ใกล้กรุงปารีส
  • ในวงการศิลปะร่วมสมัย  บราคเป็นศิลปินสำคัญของลัทธิคิวบิสม์เท่าเทียมปิคัสโซ
  • เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ.1963
  • ผลงานชิ้นสำคัญ  อาทิ  บ้านที่เลสตัค  อยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์น  โต๊ะนักดนตรี  แท่นสีดำและรูปปั้นหัวม้า  อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่กรุงปารีส
ตัวอย่างผลงานจอร์จ

"Landscape at La Ciotat"

"Harbor at Estaque"

Abstractionism

ศิลปะลัทธินามธรรม
  • ให้ความสำคัญเรื่องรูปแบบศิลปะหรือปรากฏการณ์  อันเกิดจากการผสานรวมตัวกันของทัศนธาตุ ( เส้น  สี  แสงเงา  รูปร่าง  ลักษณะผิว )
  • ไม่คำนึงถึงเนื้อหาศิลปะ
  • ศิลปะนามธรรมจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่  คือ  ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก  และ  ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิค
ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก
  • สร้างงานที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างเสรี
  • ศิลปินอาจมีพื้นฐานทางอารมณ์มาจากความรัก  ความเศร้า  ความห้าวหาญ  ฯลฯ  แล้วแสดงออกทันที

ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิค
  • สร้างงานที่ผ่านการคิดไตร่ตรอง  การวางแผนอย่างมีระบบ  มีกฎเกณฑ์
  • ใช้รูปทรงเรขาคณิตควบคุม  ศิลปินกลุ่มนี้มี  มงเดรียน ( Mondrian ) เป็นผู้นำ
  • ให้อิทธิพลต่อ Abstract แบบขอบคม ( Op Art ) ในอเมริกา
ศิลปินลัทธินามธรรม
          แจคสัน  พอลลอค ( Jackson Pollock )
  • ได้รับฉายาว่าเป็น จิตรกรแบบ Action Painting
  • สร้างงานจิตรกรรมโดยการสาด  สลัด  ราดหรือเหวี่ยง  ลงบนพื้นเฟรมด้วยลีลาท่าทางที่ว่องไว
ตัวอย่างผลงานแจคสัน

"She Wolf"

"Shimmer"

Futurism

ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์
  • ศิลปินอิตาลี  มีความเห็นขัดแย้งกับแนวทางศิลปะเชิงขนบนิยมในประเทศของตนอย่างรุนแรง  เริ่มต้นเคลื่อนไหวปี ค.ศ.1909
  • คำประกาศที่รุนแรงทางศิลปะได้แก่  Burn the Museum ,  Drain the Canal of Vanice ,  Let's Kill the Moonlight
แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานของลัทธิฟิวเจอริสม์
  • มุ่งแสดงความรู้  เคลื่อนไหวจากบริบทของสังคมยุคเครื่องจักรกล
  • ต้องการแสดงออกถึงลักษณะของสังคมยุคใหม่
  • เห็นความงามของเครื่องจักรที่รวดเร็วและมีพลัง
  • ศิลปินมักจะใช้เนื้อหาของงานที่เกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน บุคคล  สัตว์ หรือวัตถุที่มีการเคลื่อนไหว  เช่น  วงล้อรถยนต์  มอเตอร์ไซค์  และแสงสี
ศิลปินลัทธิฟิวเจอริสม์
           บอคโซนี ( Boccioni )
  • เป็นจิตรกรและประติมากร  เกิดที่เมืองเรคจิโอ  แคว้นคาลาเบรีย  อิตาลี
  • ผลงานที่สำคัญคือ  ภาพเมืองเติบโต
ตัวอย่างผลงานของบอคโซนี

"The City Rises"

"Dynamism of a Biker"

                 จิอาโคโม  บอลลา ( Chiacomo  Balla  )
  • จิตรกรชาวอิตาเลียนคนสำคัญ  เกิดเมื่อปี ค.ศ.1871  และเสียชีวิตในกรุงโรม  ค.ศ.1958
  • มีคุณูปการต่อศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์มาก
  • มีบทบาทสร้างสรรค์งานแบบฟิวเจอริสม์มากและยาวนานที่สุด  ตั้งแต่ ค.ศ.1920
  • เป็นครูของบอคโซนีและเซเวรินี
ตัวอย่างผลงานของจิอาโคโม

"Into the Future"

"Street Light"


แหล่งอ้างอิง : เอกสารประกอบการสอน  เรื่องศิลปะตะวันตก
ยุคหลังลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ถึงสงครามโลกครั้งที่ 1
อาจารย์พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น