วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ยุคหลังลัทธิอิมเพรสชันนิสม์

Fauvism

ศิลปะลัทธิโฟวิสม์  
  • หมายถึง  ลัทธิสัตว์ป่า
  • ผลงานลัทธิโฟวิสม์ใช้สีสันโฉ่งฉ่าง แสดงถึงความเป็นปฏิปักษ์กันอย่างเห็นได้ชัด
ศิลปินลัทธิโฟวิสม์
         มาทีสส์ ( Matisse  Henri )
  • อายุ 22 ปี  เรียนศิลปะฆ่าเวลา / เบื่อหน่ายตอนป่วย
  • งานสำคัญคือ  ภาพเปลือยกับลวดลายเบื้องหลัง และ ห้องสีแดง
ตัวอย่างผลงานของมาทีสส์

"Seated Riffian"

"The dessert harmony in red"

Expressionism

ศิลปะลัทธิเอ็กเพรสชันนิสม์
  • หมายถึง การแสดงออกทางศิลปะที่ตัดทอนรูปทรงและสีสันอย่างเสรีที่สุดตามแรงปรารถนา
  • ศิลปะเอ็กเพรสชันนิสม์ที่สำคัญมี 2 กลุ่ม  คือ  กลุ่มสะพานและกลุ่มม้าสีน้ำเงิน
กลุ่มสะพาน
  • เป็นการรวมตัวของศิลปินวัยหนุ่มอายุ 20-30 ปี
  • สะท้อนความสับสน  ความอัปลักษณ์ของสังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง  และศาสนา  ความสกปรกของสังคม  ความเหลวแหลก  โสมม  หลอกลวง
  • ใช้สีที่รุนแรง
  • สลายตัว ค.ศ.1913  จากปัญหาวิกฤตสังคมและสงครามโลกครั้งที่ 1
แนวทางการสร้างสรรค์งานของกลุ่มสะพาน
  • กลุ่มสะพานสะท้อนเรื่องราวทางศาสนาด้วยความรู้สึกโหดร้าย  น่าขยะแขยง  น่าเกลียด  แสดงความรัก  กามารมณ์และความตาย  เตือนให้สังคมตระหนักในความไม่แน่นอน
  • ภาพส่วนใหญ่เน้นแสดงออกทางจิตวิทยามากกว่าความจริง
กลุ่มม้าสีน้ำเงิน
  • เริ่มเคลื่อนไหว ค.ศ.1911 ที่มิวนิค
  • แกนนำคือ  วาสิลี  แคนดินสกี  กับ  ฟรอนซ์  มาร์ค
  • ศิลปินต่างชาติที่เข้าร่วม  ได้แก่  ชาวรัสเซียน  สวิส  อเมริกัน ฯลฯ
  • ชื่อลัทธิมาจากความนิยมในการเขียนรูปม้า  โดยใช้สีน้ำเงินเป็นหลัก
  • สลายตัว  ค.ศ.1914
แนวทางการสร้างสรรค์งานของกลุ่มม้าสีน้ำเงิน
  • ผ่อนคลายการกระแทกความรู้สึกของผู้ชมจากความรู้สึกน่าขยะแขยง
  • ได้รับอิทธิพลของโกแกงมากกว่าแวนโก๊ะ
  • เป็นการแสดงออกทางอารมณ์แบบรุนแรงที่แฝงความสนุกสนาน
  • ใช้สี  เส้นและการแสดงลีลาคล้ายดนตรี
ผลงานของ Emil Nolde

"Adam and Eve Banished from Paradise"

"Stormy sea"


ศิลปินลัทธิเอ็กเพรสชันนิสม์
           เอ็ดวาร์ด  มูงค์ ( Edvard  Munch )
  • เป็นผู้นำและผู้ให้อิทธิพลแก่ศิลปินกลุ่มเอ็กเพรสชันนิสม์  เกิดวันที่ 12 ธันวาคม 1863  ทางภาคใต้ของนอร์เวย์
  • เป็นเด็กขี้โรค  เจ็บออดๆแอดๆ
  • เรื่องราวของความเจ็บป่วย  และความตาย  ปรากฏอย่างมากในผลงานของเขา
  • ผลงานที่มีชื่อเสียงของมูงค์คือ  ภาพเสียงร้องไห้ ( The Cry )  ซึ่งเขียนในปี ค.ศ.1893
ตัวอย่างผลงานของเอ็ดวาร์ด

"The Scream"

"The Murderess"

Cubism

ศิลปะลัทธิคิวบิสม์
  • ลัทธิคิวบิสม์ได้แนวคิด  และอิทธิพลการถ่ายทอดสิ่งแวดล้อมผ่านการสร้างเป็นรูปทรงที่เรียบง่าย
  • แทนค่ารูปทรงด้วยแสงสีอันระยิบระยับ  ให้บรรยากาศตามช่วงเวลานั้นๆ
  • นักประวัติศาสตร์ศิลปะและนักวิจารณ์ศิลปะบางคนเรียกผลงานคิวบิสม์ระยะแรกว่า  "ศิลปะแบบเซซานน์"  หรือ  "Cezannesque"
แนวทางการสร้างสรรค์งานของศิลปะลัทธิคิวบิสม์
  • ตัดทอน  ย่อส่วน  เพิ่มเติม  และตกแต่งรูปทรงของวัตถุ  ถือหลักการเพิ่มส่วนประกอบ  เพื่อให้ผลงานสมบูรณ์
  • คำนึงถึงรูปทรงเปิดและปิด  โดยพิจารณาความสัมพันธ์ของพื้นที่ว่างในส่วนรูปทรงและพื้นผิว
  • คำนึงถึงความตื้นลึกด้วยรูปทรง  ขนาด  การทับซ้อนกัน  การบังคับและทำให้โปร่งใสคล้ายภาพเอ็กซเรย์
  • เปิดโอกาสให้ผู้ดูมีเสรีภาพในการใช้ปัญญาพินิจพิจารณาด้วยตนเอง
  • คำนึงถึงความกลมกลืนของทัศนธาตุ ( เส้น  สี  แสงเงา  รูปร่าง  ลักษณะผิว )
  • คำนึงถึงส่วนย่อยและส่วนรวมพร้อมกัน  เพื่อให้เกิดความกลมกลืน
  • นำเอาวัสดุจริงมาปะติดกัน  เพื่อให้เกิดความรู้สึกสัมผัส  จนเกิดเป็นวิธีการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า  ศิลปะตัดแปะ ( Collage)  หรือ  The art assemblage
ศิลปินลัทธิคิวบิสม์
          ปาโบล  ปิคัสโซ ( Pablo Picasso )
  • เกิดที่สเปน  ใน ค.ศ. 1881  บิดาเป็นจิตรกร
  • ศึกษาศิลปะครั้งแรกที่เมืองบาร์เซโลนาและเดินทางไปอยู่กรุงปารีส ค.ศ.1900
  • เสียชีวิต ค.ศ.1973
  • ปิคัสโซเป็นศิลปินหัวก้าวหน้า  
  • ใช้สีวรรณะเย็นดูเศร้าหมองแบบยุคม้าสีน้ำเงิน  สะท้อนชีวิตที่ลำบากของเขา
  • ในปี ค.ศ.1905 ปิคัสโซพัฒนาผลงานสู่การใช้สีที่สดใสร้อนแรงง
  • ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดชิ้นหนึ่งคือ  ภาพเกอนีแค ( Quernica ) ค.ศ.1937  เพื่อแสดงการสนับสนุนรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐของสเปน
ตัวอย่างผลงานของปิคัสโซ

"The Weeping Woman"

"Guernica"

                   จอร์จ  บราค
  • เกิดที่เมืองเลออาร์ฟ  ใกล้กรุงปารีส
  • ในวงการศิลปะร่วมสมัย  บราคเป็นศิลปินสำคัญของลัทธิคิวบิสม์เท่าเทียมปิคัสโซ
  • เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ.1963
  • ผลงานชิ้นสำคัญ  อาทิ  บ้านที่เลสตัค  อยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์น  โต๊ะนักดนตรี  แท่นสีดำและรูปปั้นหัวม้า  อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่กรุงปารีส
ตัวอย่างผลงานจอร์จ

"Landscape at La Ciotat"

"Harbor at Estaque"

Abstractionism

ศิลปะลัทธินามธรรม
  • ให้ความสำคัญเรื่องรูปแบบศิลปะหรือปรากฏการณ์  อันเกิดจากการผสานรวมตัวกันของทัศนธาตุ ( เส้น  สี  แสงเงา  รูปร่าง  ลักษณะผิว )
  • ไม่คำนึงถึงเนื้อหาศิลปะ
  • ศิลปะนามธรรมจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่  คือ  ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก  และ  ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิค
ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก
  • สร้างงานที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างเสรี
  • ศิลปินอาจมีพื้นฐานทางอารมณ์มาจากความรัก  ความเศร้า  ความห้าวหาญ  ฯลฯ  แล้วแสดงออกทันที

ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิค
  • สร้างงานที่ผ่านการคิดไตร่ตรอง  การวางแผนอย่างมีระบบ  มีกฎเกณฑ์
  • ใช้รูปทรงเรขาคณิตควบคุม  ศิลปินกลุ่มนี้มี  มงเดรียน ( Mondrian ) เป็นผู้นำ
  • ให้อิทธิพลต่อ Abstract แบบขอบคม ( Op Art ) ในอเมริกา
ศิลปินลัทธินามธรรม
          แจคสัน  พอลลอค ( Jackson Pollock )
  • ได้รับฉายาว่าเป็น จิตรกรแบบ Action Painting
  • สร้างงานจิตรกรรมโดยการสาด  สลัด  ราดหรือเหวี่ยง  ลงบนพื้นเฟรมด้วยลีลาท่าทางที่ว่องไว
ตัวอย่างผลงานแจคสัน

"She Wolf"

"Shimmer"

Futurism

ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์
  • ศิลปินอิตาลี  มีความเห็นขัดแย้งกับแนวทางศิลปะเชิงขนบนิยมในประเทศของตนอย่างรุนแรง  เริ่มต้นเคลื่อนไหวปี ค.ศ.1909
  • คำประกาศที่รุนแรงทางศิลปะได้แก่  Burn the Museum ,  Drain the Canal of Vanice ,  Let's Kill the Moonlight
แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานของลัทธิฟิวเจอริสม์
  • มุ่งแสดงความรู้  เคลื่อนไหวจากบริบทของสังคมยุคเครื่องจักรกล
  • ต้องการแสดงออกถึงลักษณะของสังคมยุคใหม่
  • เห็นความงามของเครื่องจักรที่รวดเร็วและมีพลัง
  • ศิลปินมักจะใช้เนื้อหาของงานที่เกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน บุคคล  สัตว์ หรือวัตถุที่มีการเคลื่อนไหว  เช่น  วงล้อรถยนต์  มอเตอร์ไซค์  และแสงสี
ศิลปินลัทธิฟิวเจอริสม์
           บอคโซนี ( Boccioni )
  • เป็นจิตรกรและประติมากร  เกิดที่เมืองเรคจิโอ  แคว้นคาลาเบรีย  อิตาลี
  • ผลงานที่สำคัญคือ  ภาพเมืองเติบโต
ตัวอย่างผลงานของบอคโซนี

"The City Rises"

"Dynamism of a Biker"

                 จิอาโคโม  บอลลา ( Chiacomo  Balla  )
  • จิตรกรชาวอิตาเลียนคนสำคัญ  เกิดเมื่อปี ค.ศ.1871  และเสียชีวิตในกรุงโรม  ค.ศ.1958
  • มีคุณูปการต่อศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์มาก
  • มีบทบาทสร้างสรรค์งานแบบฟิวเจอริสม์มากและยาวนานที่สุด  ตั้งแต่ ค.ศ.1920
  • เป็นครูของบอคโซนีและเซเวรินี
ตัวอย่างผลงานของจิอาโคโม

"Into the Future"

"Street Light"


แหล่งอ้างอิง : เอกสารประกอบการสอน  เรื่องศิลปะตะวันตก
ยุคหลังลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ถึงสงครามโลกครั้งที่ 1
อาจารย์พิทยะ ศรีวัฒนสาร

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รายงาน

ปราก ( Prague )



                     ปราก (อังกฤษPrague) หรือ ปราฮา (เช็กPraha) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐเช็ก มีประชากรอาศัยประมาณ 1.2 ล้านคน เมื่อค.ศ.1992 องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้ปรากเป็นมรดกโลก

สถานที่ท่องเที่ยว

            ปราสาทกรุงปราก ( Prague Castle )



              ปราสาทแห่งกรุงปรากเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่มีผู้คนเข้าเยี่ยมชมมากที่สุด และเป็นจุดสำคัญที่สุดของทั้งเมือง เปรียบดั่งว่าเป็นอัญมณีที่ล้ำค่าแห่งเมืองหลวงของเช็ก ปราสาทแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์อันเก่าแก่ของแผ่นดินเช็ก และความน่าเป็นไปได้ที่สุดคือ เจ้าชายโปริโวค (Prince Borivoj) เป็นผู้ที่ค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 880 โดยตัวปราสาทเองเป็นเสมือนกับเมืองน้อยๆ เมืองหนึ่ง และตามที่หนังสือกินเนตส์ (Guinness Book of World Records) ได้บันทึกไว้ว่า เป็นปราสาทที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างส่วนประกอบต่างๆของปราสาทที่ใหญ่และซับซ้อนที่สุดในโลก ครอบคลุมพื้นที่ถึง 70,000 ตารางเมตร (437.5 ไร่) และยังคงใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้
               ส่วนประกอบต่างๆของตัวปราสาททั้งหมดตั้งอยู่บนยอดเนินเขาและลดหลั่นลงมาจนถึงชายฝั่งด้านซ้ายของแม่น้ำวัลตารา (Vltava River) ตัวปราสาทอาจดูไม่เหมือนปราสาทแบบดั้งเดิมเป็นเพราะจากการสร้างที่ได้กระจายออกไปตามแนวราบมากกว่าแนวตั้ง

                    มหาวิหารเซนต์วิตัส ( St.Vitus Cathedral )



              มหาวิหารหลังนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยศัตวรรษที่ 14 เป็นการสร้างแบบสถาปัตยกรรมโกธีก (Gothic) ที่ได้ตกแต่งประดับประดาไปด้วยหัวสัตว์ประหลาดมากมายที่ทำด้วยหินตั้งอยู่บนหลังคาและปากท่อรางน้ำฝน ส่วนภายในของมหาวิหารนักท่องเที่ยวจะได้พบกับความงามอันประณีตของสถานที่ฝังศพต่างๆ และคุณยังสามารถปีนไต่ขึ้นไปบนยอดสุดของหอระฆังได้ ซึ่งเป็นจุดที่สูงสุดของปราสาทและสามารถชมความงามของตัวเมืองทั้งหมดจากมุมสูงตรงนั้น นอกจากนั้นมหาวิหารแห่งนี้ยังมีห้องสำหรับสวดมนต์เล็กที่อยู่ด้านข้างรอบๆ และสิ่งหนึ่งที่น่าทึ่งของห้องสวดมนต์เล็กของ เซนต์ เวนเซสลาส คือกำแพงฝาผนังที่ประดับได้ด้วยพลอยและหินที่มีสีสันสดใสระรานตา
                
                จัตุรัสเมืองเก่า


                  จัตุรัสแห่งนี้ได้มีนโยบายให้เป็นศูนย์กลางสาธารณะที่สำคัญของกรุงปรากตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 และได้เป็นตลาดหลักตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 ตอนต้น และปัจจุบันนี้ได้เป็นแหล่งค้าขายสิ่งที่ต้องการให้แก่ทั้งนักท่องเที่ยวและผู้คนท้องถิ่น และเป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยคาเฟ่ต่างๆ ผับและร้านอาหารอย่างมากมายทั้งนี้ยังรวมไปถึงร้านขายของที่ระลึกราคาถูก มีรถม้าไว้บริการ, มีพิพิธภัณฑ์และห้องจัดแสดงผลงานศิลปะต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามที่นี่จะเต็มไปด้วยการค้าขายอย่างมากมายแต่ไม่ได้ทำให้ความสวยงามของจัตุรัสแห่งนี้ลดลงแต่อย่างใด
                  จัตุรัสเมืองแห่งนี้เป็นสถานที่เหมาะสำหรับการที่จะนั่งข้างนอกผับทั้งหลายแหล่เพื่อที่จะลิ้มลองสุดยอดเบียร์นานาชนิดของกรุงปรากในระหว่างที่คุณดื่มด่ำกับบรรกาศของเมือง ส่วนที่สวยและน่าชมที่สุดของเมืองคือตึกราบ้านช่องที่ระบายด้วยสีพาสเทลที่ตั้งอยู่รอบๆจัตุรัสนั้นเอง

                    นาฬิกาดาราศาสตร์


            หอคอยที่เป็นที่ยอดนิยมของเมืองคืออาคาร หอนาฬิกา (Town Hall Clock) นาฬิกาดาราศาสตร์ของกรุงปรากเป็นหนึ่งในนาฬิกาที่เก่าแก่และการสร้างที่ประณีตและละเอียดที่สุดที่เคยมีการสร้างมา นาฬิกานี้ถูกติดตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1410 และหลังจากนั้นได้ทำการปรับปรุงซ่อมแซมนาฬิกานี้โดย เดอะมาสเตอร์ ฮานาส (The Master Hanus) ในปี ค.ศ. 1490 นาฬิกาเรือนนี้มีส่วนประกอบหลักๆอยู่สามส่วนคือ หน้าปัดที่บอกเกี่ยวกับดาราศาสตร์ การอธิบายตำแหน่งการโคจรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์บนท้องฟ้า และแสดงรายละเอียดอื่นอีกมากมายเกี่ยวกับดาราศาสตร์ การออกมาเดินของสาวกของพระเยซูทั้ง12คน” นาฬิกาจะบอกเวลาทุกๆชั่วโมงและจะแสดงท่าทางของสาวกของพระเยซูทั้ง12คน และการเคลื่อนไหวของรูปปั้นอื่นๆ  และหน้าปัดปฏิทินจะเป็นเหรียญแกะสลักขนาดใหญ่อธิบายเดือนต่างๆ
                   ผู้คนจะรวมตัวกันก่อนหน้าที่นาฬิกาจะแสดงการบอกเวลาตลอดทั้งวันตั้งแต่เวลา 09:00 ถึง 21:00 น. นาฬิกาจะแสดงการบอกเวลาทุกๆชั่วโมง การแสดงท่าทางและเสียงระฆังของสาวกพระเยซูจะปรากฏอยู่ด้านบนจะเป็นรูปปั้นของไก่งวง (The Turk) ตัวที่ส่ายหัวในความที่ไม่เชื่อชื่อ เดอะไมเซอร์ (The Miser) ตัวที่จ้องมองทองคำในกระเป๋าของตน และวานิตี (Vanity) ตัวที่ชื่นชมตัวเองในกระจก

                   มาเล  นาเมสตี


                  อยู่ห่างจากจัตุรัสเมืองเก่าไปเพียงไม่กี่ก้าว ที่นี่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของฟรันซ์ คาฟกา อย่าพลาดไปเยี่ยมชมโบสถ์พระแม่ (Church of Our Lady Before Týn) พระราชวังกินสกีซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบรอคโคโค บ้านระฆังหินที่สร้างตั้งแต่ยุคกลาง และโบสถ์เซนต์นิโคลัสแบบบารอค

                  สะพานชาร์ลส์


                  ศตวรรษที่ 13 สะพานชาร์ลส์โดยปรกติแล้วจะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวมากมายและเช่นเดียวกันกับชาวเช็กยิ่งเฉพาะในช่วงเดือนฤดูใบไม้ผลิและช่วงฤดูร้อน แน่นอนว่าสะพานชาร์ลส์จัดอยู่ในอันดับต้นๆที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในเมืองนี้ และเป็นสถานที่อันดับต้นๆในรายการที่คุณจะไปเยี่ยมชม ช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือตอนเช้าที่จะได้สัมผัสกับประสบการณ์นี้และเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนไม่พลุกพล่าน แต่อย่างไรก็ตามการเดินเล่นผ่านแสงไฟยามค่ำคืนก็เป็นสิ่งที่สวยงามประทับใจอีกอย่างหนึ่งของกรุงปราก แผงขายของฝากมากมายตั้งเรียงรายอยู่ตามถนนหนทางดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด เช่นเดียวกันกับนักดนตรีข้างถนนที่บรรเลงเพลงของตัวเองจากหัวใจของพวกเขาสู่ใจของคุณยามที่คุณเดินผ่าน และคุณยังสามารถเป็นเจ้าของภาพวาดใบหน้าของคุณโดยศิลปินนักวาดภาพล้อเลียน ก็นับเป็นของที่ระลึกอีกอย่างที่จะได้นำกลับบ้านเช่นกัน
                 สะพานชาร์ลส์ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือแห่งนี้ทอดตัวข้ามแม่น้ำวัลตาวา (Vltava River) ในกรุงปราก และสะพานได้เชื่อมต่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างยุโรปตะวันออกและตะวันตก และทำให้กรุงปรากเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองแห่งเส้นทางการค้าขาย ตัวสะพานดั้งเดิมเคยถูกขนานนามว่า สะพานหิน หรือ สะพานแห่งกรุงปราก แต่ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “สะพานชาร์ลส์” “Charles Bridge” เมื่อปี ค.ศ. 1870



                พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 ทรงโปรดให้สถาปนิกและช่างก่อสร้างชื่อ ปีเตอร์ พาร์เลอร์ (Peter Parler) ให้สร้างสะพานที่ทันสมัยในยุคนั้น ในความคิดเริ่มแรกคือการสร้างแล้วสามารถที่จะใช้ประโยชน์ในการแข่งขันการต่อสู้บนหลังม้า  และหลายปีผ่านไปการตกแต่งสะพานแห่งนี้มีเพียงแค่กางเขนที่มีรูปหุ่นพระเยซูถูกตรึงอยู่เท่านั้นเอง หลังจากนั้นความปรารถนาของชาวคาทอลิคที่มีต่อการประดับประดาตกแต่งสะพานให้ดูสวยงามขึ้น ก็ได้ลงเอยกันด้วยการจัดสร้างรูปปั้นเพิ่มเติม 30 รูป และเริ่มสร้างตั้งแต่ปี (ค.ศ.1600 ถึงปี 1800)


                ปัจจุบันนี้รูปปั้นส่วนใหญ่เป็นของเลียนแบบ ส่วนสาเหตุที่ทำให้รูปปั้นเสียหายและได้ทำของเลียนแบบขึ้นมาคือจากการถูกน้ำท่วมซ้ำหลายครั้งหลายครา และภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นในหลายๆศตวรรษที่ผ่านมา และรูปปั้นที่เก่าแก่ที่สุดตรงนี้คือ รูปปั้นไม้กางเขนที่มีพระเยซูถูกตรึงอยู่ (ค.ศ.1657) ตั้งอยู่ตรงใกล้กับปลายสะพานด้านเมืองเก่า (Old Town) ข้อความที่จารึกในแผ่นป้ายภาษาฮิบบรูที่เคลือบทองเขียนไว้ว่า “แด่พระเจ้าผู้ที่ศักดิ์สิทธิ์” ‘Holy, holy, holy, the Lord of Hosts’ ได้ทุนการสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1694 โดยการเรียกค่าปรับจาก อีเลียส แบ็คโคเฟน (Elias Backoffen) ชาวยิวในสมัยนั้น ในทุกวันนี้มีรูปปั้นอยู่ 75 รูปและบางทีอาจเป็นไปได้ว่ารูปปั้นที่น่าสนใจและเก่าแก่ที่สุดคือรูปปั้นของ จอหน์ เนปโปมุค (John Nepomuk) (รูปปั้นที่ 8 ทางขวามือถ้าหากคุณข้ามมาจากทางปราสาท) ในตำนานกล่าวไว้ว่าถ้าคุณได้เอามือลูบกับแผ่นจารึกทองแดงที่อยู่ตรงฐานของรูปปั้นนั้นแล้ว แน่นอนว่าสักวันหนึ่งคุณต้องหวนกลับมายังกรุงปรากอีกครั้ง และนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปผ่านมาล้วนแต่ได้เอามือลูบแผ่นจารึกนั้นทั้งสิ้น จนกลายเป็นแผ่นสีทองแวววาวสุกใส


                ตัวสะพานมีความยาวทั้งสิ้น 516 เมตร ประกอบด้วยตอม่อ 16 ต้น และหอสะพานสามแห่ง หนึ่งในจำนวนหอสะพานคือหอสะพานเมืองเก่า (Old Town Bridge Tower) ที่ได้รับการพิจารณายกย่องให้เป็นหอสะพานที่สวยที่สุดในยุโรป เป็นเพราะการตกแต่งผลงานการปั้นแกะสลักหรือรูปหล่อที่สวยงามสมบูรณ์แบบ หอสะพานนี้ยังเปิดให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการชมทิวทัศน์จากดาดฟ้าของหอคอยสะพานเพื่อชื่นชมกับสุดยอดของแสงแห่งรุ่งอรุณยามเช้าด้วย

                คัมป้า  ไอร์แลนด์ ( Kampa )


                ด้านสุดของทิศเหนือสะพานชาร์ลส์ ปัจจุบันนี้ได้เชื่อมต่อกับส่วนที่เหลือของเมืองด้วยถนน นา คัมเป้ (Na Kampe) เพราะว่าได้เคยถูกแยกจากตัวเมืองมาก่อน เกาะ คัมป้า ไอร์แลนด์เป็นหนึ่งในสถานที่เงียบสงบในกรุงปราก ตัวเกาะได้แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนที่อยู่ใกล้กันกับสะพานชาร์ลส์ ซึ่งส่วนนี้ของเกาะเป็นรูปแบบจัตุรัสที่แฝงไปด้วยอบอุ่น ส่วนอีกฝากหนึ่งของเกาะเติมแต่งด้วยสวนต่างๆนานาที่อิงประวัติศาสตร์ เมื่อได้ย้อนกลับไปเมื่อศตวรรษที่ 12 และหลายปีที่ผ่านๆมา น้ำในแม่น้ำได้เอ่อเข้าท่วมอย่างไม่หยุดหย่อนและได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างของเกาะไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปี ค.ศ. 1541 ชาวบ้านได้ช่วยกันเสริมคันกั้นน้ำของเกาะด้วยการใช้เศษอิฐเศษปูนและเหล็กจากอาคารต่างๆที่ถูกไฟไหม้มาใช้ในการเสริมคันกั้นน้ำ แต่อย่างไรก็ตามเกาะได้ถูกแยกออกจาก เลสเซอร์ ทาวน์ (Lesser Town) ด้วยร่องแม่น้ำรู้จักกันในชื่อ เซอร์โทฟว่า (Certovka) ซึ่งชื่อนี้หมายความว่า ภูตผีปีศาจ จากตำนานความสำเร็จของผู้หญิงคนหนึ่งที่ครั้งหนึ่งเธอได้ดำเนินการโรงสีบนเกาะและได้สมรู้ร่วมคิดกับภูตผีปีศาจที่ว่านี้ นานมาแล้วเนื้อที่บนเกาะส่วนใหญ่เคยเป็นพื้นที่แห้งแล้งจนกระทั้งถึงกลางศตวรรษที่ 16 ไม่มีสิ่งก่อสร้างใดๆนอกจากโรงสีกังหันน้ำสามแห่งเท่านั้น ปัจจุบันนี้นักท่องเที่ยวยังคงที่จะได้เห็นกังหันน้ำอยู่สองแห่ง



                   ย่านที่อยู่เก่าของชาวยิว ( Josefov )


                 ย่านที่อยู่เก่าของชาวยิวนี้เป็นพื้นที่เล็กๆที่รู้จักกันในชื่อของ โจเซฟฟอส (Josefov) ตั้งชื่อตามจักรพรรดิ โจเซฟ ที่ 2 ผู้ที่ได้ทำการปฏิรูปเพื่อการช่วยเหลือให้ชาวยิวในสมัยนั้นได้มีที่อยู่อาศัยที่ดีเป็นหลักเป็นฐาน (ย่านที่อยู่เก่าของชาวยิวแห่งนี้เป็นส่วนที่หลงเหลือของชุมชนแออัดของชาวยิวมาก่อน) โจเซฟฟอสตั้งอยู่ตรงระหว่างจัตุรัสเมืองเก่า (The Old Town Square) กับแม่น้ำวัลตาวา ที่ตรงนี้มีบุคคลสำคัญสองคนที่มีประวัติความเป็นมาที่คล้ายคลึงกันที่เคยอยู่ในย่านนี้ของเมืองคือ แฟร็งค์ คัพค่า (Franz Kafka) และยักษ์โกเลม (Golem) ยักษ์ตนนี้ได้สร้างขึ้นโดย เยฮูด้า เบน เบ็ซซาวัล (Jehuda ben Bezalel) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า ราไบ โลฟ (Rabbi Löw) สถานที่ต่างๆในโจเซฟฟอสสามารถที่จะเดินชมได้ทั่วภายในหนึ่งวัน แต่หากว่าต้องการสำรวจรายละเอียดต่างๆของสิ่งเล็กสิ่งน้อยที่อยู่ภายในโบสถ์ของศาสนายิวต้องใช้เวลามากกว่าหนึ่งวันอย่างแน่นอน เช่นสุสานชาวยิวรวมทั้งโบสถ์ศาสนายิวที่เก่าใหม่ (Old-New Synagogue)โบสถ์คลาวเซ็น (Klausen) และโบสถ์พิงค์คัส (Pinkas) โบสถ์ที่กล่าวมานี้คุ้มค่ากับการเข้าชมอย่างแน่นอน อีกอย่างหนึ่งต้องเตรียมพร้อมที่จะจ่ายค่าเข้าชมเพราะสถานที่ต่างๆส่วนใหญ่จะเก็บค่าเข้าชมซึ่งราคาเริ่มตั้งแต่ 200 CZK หรือถ้าจ่ายแบบตั๋วเหมาครั้งเดียวในราคาเพียง 500 CZK ก็สามารถเข้าชมได้ทุกที่ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมค้นหาได้ที่ www.jewishmuseum.cz.

                  ย่านชุมชนแออัดของกรุงปราก 


                 ปัจจุบันนี้พิพิธภัณฑ์ชาวยิวได้แยกออกเป็น 7 แห่งที่กระจัดกระจายอยู่ในสถานที่ต่างๆในย่านโจเซฟฟอส ส่วนที่เหลือของการตั้งรกรากอยู่ท่ามกลางทาวน์ฮอลล์ของชาวยิว (The Jewish Town Hall) และสุสานเก่าของชาวยิวเป็นสถานที่ที่น่าทึ่งที่สุดในยุโรป สถานที่ต่างๆจะเปิดเวลา 09:30 ถึง 18:00 น. และจะปิดในวันหยุดต่างๆของชาวยิว ข้อแนะนำ: หลีกเลี่ยงการไปชมในวันเสาร์เพราะเป็นวันทำพิธี ซัปบาธ (Sabbath)
                 ซึ่งพิพิธภัณฑ์ชาวยิวทั้ง 7 แห่ง  ได้แก่
                 1.โบสถ์คลาวเซน (Klausen) ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ. 1680 ที่นี่มีการแสดงนิทรรศการขนบธรรมเนียมประเพณี และเครื่องแต่งกายของชาวยิว
                 2.โบสถ์สแปนิส (Spanish) ด้วยการออกแบบสร้างสไตล์มอริช “Moorish” โบสถ์แห่งนี้มีลักษณะที่โดดเด่นเป็นอย่างมากเมื่อได้เห็น และโบสถ์แห่งนี้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของยิวตั้งแต่ยุคที่ได้รับการปลดแอกจนถึงปัจจุบัน
                 3.โบสถ์พิงค์คัส (Pinkas) ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ. 1475 โบสถ์แห่งนี้เป็นอนุสรณ์สถานแด่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของลัทธินาซี
                 4.โบสถ์ไมเซล์ (Maisel) ห้องโถงในโบสถ์จัดแสดงประวัติศาสตร์ของยิวในยุคสมัยโบฮิเมีย (Bohemia) และ โมราเวีย (Moravia)  ฮอลล์เก่าสำหรับประกอบพิธี (Former Ceremonial Hall) อาคารหลังนี้สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบบาโรกและมีลักษณะที่เด่นเฉพาะด้วยมียอดหลังคาสีเขียว ในตัวอาคารจัดแสดงขนบธรรมเนียมประเพณี และเครื่องแต่งการของชาวยิว
                 5.โบสถ์จูบิลี (Jubilee) เป็นโบสถ์ศาสนายิวที่ได้สร้างล่าสุดและเป็นโบสถ์ใหญ่ที่สุดในกรุงปราก 
                  6.สุสานเก่าของชาวยิว สถานที่แห่งนี้สามารถที่จะได้พบกับหลุมฝังศพของ ราไป โลฟ (Rabbi Löw)
                   7.โบสถ์เก่า-ใหม่ (Old-New Synagogue) โบสถ์แห่งนี้สร้างแบบสถาปัตยกรรมโกธิกตอนต้น ของศตวรรษที่ 13 เป็นโบสถ์ศาสนายิวที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป

                  อาคารที่ทำการเทศบาล


                พระราชวังแบบอาร์ต นูโวแห่งนี้สร้างขึ้นระหว่างปี 1905 ถึง 1912 และมีคอนเสิร์ตฮอลล์ที่ใหญ่ที่สุดในเมือง (สเมตาโนวา ฮอลล์)  จุดเด่นของอาคารนี้อยู่ที่โมเสค  กระจกสีชิ้นเล็กๆที่มาเรียงเป็นภาพที่ละเอียดอ่อน 

               โบสถ์เซนต์นิโคลัส


                 โบสถ์นี้มีความวิจิตรงดงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบบาโรก ได้สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1704 – 1755 โดยคิเลียน ดีนเซนโฮฟเฟอร์ (Kilian Dientzenhofer) เป็นโบสถ์ที่งดงามโบสถ์หนึ่งในยุโรปที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบบาโรก ตัวโบสถ์ได้สร้างเสร็จในปีค.ศ. 1735 แต่ในปีค.ศ. 1781 จักรพรรดิโจเซฟที่ 2 ได้สั่งให้ยุติการสร้างและย้ายข้าวของเครื่องตกแต่งออก
              ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารของเช็กได้ประจำการอยู่ที่โบสถ์แห่งนี้ และในเวลาเดียวกัน กลุ่มศิลปินต่างๆได้ทำการบูรณะซ่อมแซมตัวโบสถ์ แรกเริ่มเป็นโบสถ์ของ เบนเนดิกทีน (Benedictine Monastery) ปัจจุบันนี้เป็นของ โบสถ์เช็กโชสโลวาค ฮูสไซด์ (The Czechoslovak Hussite Church)
                   มีเพดานที่สวยงามด้วยภาพเขียนแสดงถึงชีวประวัติของเซนต์นิโคลัส และเซนต์เบนเนดิก พร้อมทั้งโคมไฟระย้าอันสวยงาม ด้านหน้าของอาคารด้านทิศใต้ตกแต่งด้วยรูปปั้นและภาพวาดของนักบุญต่างๆ สิ่งเหล่านี้มีชื่อเล่นว่า เค้กแต่งงาน (The wedding cake) และเป็นสิ่งที่เป็นงานสถาปัตยกรรมบาโรกรูปแบบดั้งเดิมของกรุงปราก


                 อิกนาซ พลาทเซอร์ เป็นผู้ที่สร้างรูปปั้น เดอะคอปเปอร์แห่งเซนต์นิโคลัส (The copper statue of St Nicholas) ซึ่งมองลงมาจากแท่นบูชาสูง ตัวโดมที่โอ่งโถงมีความสูง 18 เมตร (59 ฟีต) ซึ่งมีความสูงกว่าหอคอยเปอร์ตริน ด้วยการตกแต่งที่นิยมในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 18 ของพื้นที่ยกสูงประดับประดาไปด้วยนางฟ้าต่างๆและเหล่ากามเทพทำโดย ปีเตอร์และริชาร์ด ปราชเนอร์ (Richard Prachner) ในปีค.ศ 1765


                 ออร์แกนบาโรกตัวที่ตั้งอยู่ภายในเคยถูกเล่นโดย ดับบลิว เอ โมสาร์ท (W. A. Mozart) เมื่อครั้งที่เขาอาศัยอยู่ในกรุงปราก 4 ปีต่อมาออร์แกนตัวเดียวกันนี้ได้เล่นในพิธีศพเพื่อความทรงจำของเขา โบสถ์เซนต์นิโคลัสยังเป็นสถานที่นิยมจัดคอนเสิร์ตในช่วงฤดูร้อน ใกล้กันกับโบสถ์นี้คุณสามารถที่จะใช้บริการรถม้าเพื่อเที่ยวชมรอบจัตุรัสเมืองเลเซอร์ ทาวน์ได้อีกด้วย

                 ถนนหน้าจัตุรัส เวนเชสลาส


                ทางใต้สุดทางของถนน นา ปริโคปเป้ ที่บรรจบกับ จัตุรัส เวนเชสลาส (Václvské náměstí) จะเห็นเป็นถนนที่กว้างใหญ่มีความยาว 750 เมตร และกว้าง 60 เมตร ถนนสายนี้ได้ออกสู่สายตาให้เห็นมาตั้งแต่ 600 ปีก่อนในรัชสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 เมื่อครั้งนั้นได้ถูกใช้เป็นตลาดค้าม้า ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจัตุรัสแห่งนี้เอาไว้เป็นสถานที่ไว้จัดขบวนแห่อย่างเป็นประจำสำหรับทุกชนชั้น ไม่ว่าจะเป็นคณะองค์กร หรือพรรคของรัฐบาลที่เป็นที่รู้จักกันดีในสาธารณรัฐเช็ก ถนนสายนี้สามารถที่จะรองรับผู้คนได้ถึง 40,000 คน อย่างสบายๆและซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วก่อนหน้านี้ในอดีต ในส่วนบนสุดของถนนใหญ่สายนี้มีรูปปั้นที่สง่างามของ เซนต์ เวนเชสลาสที่นั่งอยู่บนหลังม้า ห่างไปอีกไม่กี่เมตรจากรูปปั้นนั้นมีแผ่นจารึกตั้งอยู่เพื่อไว้อาลัยแด่ผู้คนที่ถูกเข่นฆ่าในช่วงยุคสมัยคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้ซึ่งรวมถึง ยันน ปาลัค (Jan Palach) นักเรียนที่มีอายุเพียง 20 ปี ผู้ที่ได้จุดไฟเผาตัวเองในเดือนมกราคม ค.ศ. 1969 ระหว่างการประท้วงต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ 4 เดือนก่อนหน้าการรุกรานของจักรวรรดิโซเวียต  และยัน ปาลัคเสียชีวิตหลังจากนั้นสามวันด้วยสาเหตุที่ร่างกายถูกไฟไหม้ไปทั้งหมด 85% และหลังจากที่เขาตายมีผู้คนเข้าร่วมงานศพกว่า 800,000 คน ต่อมาการล่มสลายของจักรวรรดิ์คอมมิวนิสต์ก็ได้เกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 1989 วาซาฟ ฮาเวียร์ (นักเขียน) และ อเล็กซานเดอร์ ดูปเซ็ค (นักการเมือง) ก็ได้ปรากฎตัวบนระเบียงหมายเลข 36 ทักทายผู้สนับสนุนทั้งหลายด้วยความปราบปลื้มปิติอย่างล้นเหลือ ทุกวันนี้ ปาลัค และเหล่าผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของระบอบคอมมิวนิสต์ได้มีการสร้างสถูปเล็กๆเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกตรงด้านหน้าของรูปปั้น โจเซฟ มิสโซเบ๊ค (Josef Myslbek) ที่กำลังขี่ม้าของ เซ็นต์ เวนเชสลาส


                  ปัจจุบันนี้จัตุรัส เวนเชสลาส เป็นแหล่งที่เร่งรีบและพลุกพล่านด้วยการค้าขาย และสถานที่แห่งนี้จะเริ่มมีชีวิตชีวาขึ้นมาหลังจากพระอาทิตย์ตกดินแล้ว ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารต่างๆ โรงภาพยนตร์และไนท์คลับต่างๆ ที่เป็นจุดดึงดูดใจของนักท่องเที่ยวให้มารวมตัวกัน ยังเคยเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์สำคัญๆทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา พื้นที่ในจัตุรัสแห่งนี้มีสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ไม่ไกลเกินที่จะเดินได้ทั่วถนนและเป็นการคุ้มค่าในการเดินแต่ละย่างก้าวไปบนพื้นที่แห่งนี้ ทางทิศเหนือสุดจัตุรัส คุณจะได้พบกับ นีโอ-เรไนซันเซ่ (Neo-Renaissance) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ และเป็นอาคารอีกหลังที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ พระราชวัง โครูน่า (Koruna Palace) เป็นอาคารที่ครอบคลุมช็อปปิ้งอาเขตที่มีกระจกประกอบกันเป็นโดมอย่างสวยงามได้สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1911

                  โบสถ์พระแม่ (Church of Our Lady Before Týn)


                  ภายในเป็นการตกแต่งด้วยศิลปะแบบกอธิคตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 14 ตั้งอยู่ที่จัตุรัสเมืองเก่า

                  ตึกเต้นรำ


                    อาคารเต้นรำมีชื่อเล่นว่า “เฟรด และ จิงเจอร์” ซึ่งเป็นตึกสำนักงานสร้างอยู่ใจกลางกรุงปราก ได้สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1997 โดยสถาปนิกชาวเช็กชื่อ วัลโด มิลูนิค (Vlado Milunic) แต่เกิดในโครเอเชีย โดยการร่วมมือของสถาปนิกชาวอเมริกันชื่อ แฟร็งค์ เกฮรี่ (Frank Gehry) โดยได้สร้างบนพื้นที่ดินว่างเปล่าแปลงเล็กตรงริมแม่น้ำ ตึกที่ติดกันเจ้าของเป็นนักเขียนบทละครชาวเช็ก และเป็นอดีตประธาธิบดีชื่อ วัลโซฟ ฮาเวล ผู้ที่มีส่วนสนับสนุนคนสำคัญต่อสถาปัตยกรรมล้ำยุคที่มีบทบาทสำคัญในการโต้แย้งในการออกแบบและอนุมัติการก่อสร้าง ตึกเต้นรำรู้จักกันภาษาเช็กว่า ทันซิซิ ดัม (Tancici dum) ‘the Dancing House’ ตัวอาคารจะดูไปแล้วเหมือนกับคู่เต้นรำที่ยื่นออกมาให้เห็นโดยไม่มีการกระทบกระทั่งกับสถาปัตยกรรมแบบ นีโอ-บาโรก, นีโอ-โกธิก และศิลปแบบนูโว ตัวตึกนี้เป็นอีกหนึ่งที่มีชื่อเสียงของกรุงปราก มีห้องอาหารฝรั่งเศษระดับหลายดาวอยู่บนดาดฟ้าพร้อมด้วยทิวทัศน์ที่งามเป็นเลิศ ในตัวตึกมีบริษัทยักษ์ใหญ่นานาชาติเช่าพื้นที่อยู่



แหล่งอ้างอิง : http://www.prague.fm/th/สถานที่ท่องเที่ยว
http://th.wikipedia.org/ปราก

ภาพ Impressionism

พายเรือเล่น ( The Boating Party )
ค.ศ.1893-1894


  • เป็นผลงานของ แมรี คาซาท ( Mary Cassatt หรือ Mary Stevenson Cassatt )
  • เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชั่นนิสม์คนสำคัญของสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20
  • มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมันและการทำภาพพิมพ์
  • มักจะวาดภาพชีวิตทั้งทางสังคมและชีวิตส่วนตัวของผู้หญิง  โดยเน้นความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างแม่ละลูก
  • มีการใช้สีสดใสมีชีวิตชีวา
  • ใช้ฝีแปรงวาดลงบนผ้าโดยตรง  โดยไม่มีการผสมสีในจานสีก่อน
  • จึงเป็นการใช้ตาผู้ดูผสมเอาด้วยตนเองในลักษณะของ "อิมเพรสชั่นนิสม์"
  • นิยมลงสีพื้นหลังให้เข้ม
  • พยายามจับเอาแสง-สีในอากาศให้ได้สภาพของบรรยากาศในขณะที่เขียนภาพนั้นให้ใกล้เคียงที่สุด  เพราะแสงและสีเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
  • ใช้เทคนิคการระบายสีอย่างรวดเร็ว  ฉับพลัน  จนเกิดเป็นรอยแปรงขึ้นอย่างชัดเจน
  • เคารพและถือเอาธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการถ่ายทอด
  • เป็นการเขียนภาพที่เต็มไปด้วยพลัง  โดยวาดจากการสังเกต
  • ใช้สีพาสเทลและเลี่ยงการใช้สีดำ


แหล่งอ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/มารี คาซาท

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Rococo



ศิลปะโรโคโค (อังกฤษ: Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปะแบบหลุยส์ที่ 14" (Louis XIV Style) ศิลปะโรโคโคเริ่มพัฒนามาจากศิลปะฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโคโคจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็กๆแบบประดิษฐ์ประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปะโรโคโคมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก
คำว่าโรโคโคมาจากคำสองคำผสมกัน คำว่า rocaille จากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโคโคจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนตัวของใบไม้เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิษฐ์ประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อและเป็นเพียงศิลปะสมัยนิยมเท่านั้น คำว่าโรโคโคเมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1836 เป็นภาษาพูดที่หมายความว่า โบราณล้าสมัย แต่พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำนี้ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะ ถึงจะมีการถกเถียงกันถึงความสำคัญของศิลปะลักษณะนี้ โรโคโคก็ยังถือกันว่าเป็นสมัยของศิลปะที่มีความสำคัญสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก



ประวัติ
           ศิลปะโรโคโคเริ่มขึ้นจากศิลปะการตกแต่งและศิลปะการตกแต่งภายใน ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส   เมื่อปลายรัชสมัยการตกแต่งอย่างหรูหราแบบโรโคโคก็เริ่มเบาขึ้น มีเส้นโค้งมากขึ้น และลวดลายเริ่มเป็นธรรมชาติมากขึ้น ลักษณะเช่นนี้จะเห็นชัดได้จากผลงานของ นิโคลัส พินเนอ (Nicholas Pineau) ระหว่างสมัยรีเจนซ์ (Régence) ชีวิตราชสำนักก็เริ่มย้ายออกจากพระราชวังแวร์ซายส์ โรโคโคก็มีรากฐานมั่นคงขึ้นโดยเริ่มจากงานในวังหลวงแล้วขยายออกมาสู่งานสำหรับชนชั้นสูง ลักษณะอ่อนไหวและขึ้เล่นของโรโคโคทำให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อของรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยแท้
        ราวประมาณปี ค.ศ. 1730 เป็นระยะที่ศิลปะโรโคโครุ่งเรืองที่สุดในประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมลักษณะนี้เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลต่อศิลปะแขนงอื่นๆด้วย เช่น  จิตรกรรม  ประติมากรรม และ เฟอร์นิเจอร์ จะเห็นได้จากงานของ ฌอง อองตวน  วัตโตว์ (Jean-Antoine Watteau) และ ฟรองซัวส์ บูแชร์ (François Boucher) ศิลปะโรโคโคยังรักษาลักษณะบางอย่างของศิลปะบาโรกเช่นความซับซ้อนของรูปทรง (form) และความละเอียดลออของลวดลาย แต่สิ่งที่โรโคโคจะแตกต่างกับบาโรกคือจะผสมผสานลักษณะอย่างอื่นเข้ามาด้วย รวมทั้งศิลปะจากทางตะวันออกโดยเฉพาะจากจีนและญี่ปุ่น และองค์ประกอบจะขาดความสมดุล (asymmetric)


         ศิลปะแบบโรโคโคเผยแพร่โดยศิลปินชาวฝรั่งเศส แต่ผู้ที่ตื่นเต้นกับศิลปะลักษณะนี้มากก็คือสถาบันคาทอลิกทางใต้ของประเทศเยอรมนี บริเวณโบฮิเมีย (Bohemia-ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก) และประเทศออสเตรีย เพราะเป็นศิลปะที่สามารถประสมประสานอย่างกลมกลืนกับศิลปะบาโรกแบบเยอรมนีได้เป็นอย่างดี ศิลปะโรโคโคแบบเยอรมนีจะใช้กันมากในการสร้างโบสถ์ สำนักสงฆ์ (monasteries) และวัง ในสมัยพระเจ้าฟรีดริชมหาราช แห่งปรัสเซีย ศิลปินแห่งราชสำนักปรัสเซียก็เริ่มสร้างลักษณะโรโคโคที่เป็นของตนเองที่เรียกกันว่าโรโคโคแบบฟรีดริช (Frederician Rococo) ซึ่งมีอิทธิพลมาจากโรโคโคฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์  สถาปนิกมักจะตกแต่งภายในด้วยปุยเมฆที่ทำจากปูนปั้น (stucco) ทั่วไปทั้งห้อง


           พอถึงปลายสมัยโรโคโค ศิลปะแบบนี้ก็เริ่มเป็นที่นิยมกันทางเหนือและใต้สุดของประเทศอิตาลี ฟรานเซสโก บอโรมินิ (Francesco Borromini) และ กัวริโน กัวรินี (Guarino Guarini) ใช้โรโคโคที่เมืองตูริน เวนิส เนเปิลส์ และซิซิลี แต่ทางบริเวณทัสกานีและโรม จะไม่นิยมโรโคโค และยังยึดอยู่กับศิลปะแบบบาโรก
         โรโคโคที่ประเทศอังกฤษมักจะเรียกกันว่าศิลปะแบบฝรั่งเศส หรือ "รสนิยมฝรั่งเศส" ("French taste") สถาปัตยกรรมแบบโรโคโคจะไม่เป็นที่นิยม แต่โรโคโคที่นิยมกันก็คือการทำเครื่องเงิน เครื่องกระเบื้อง และไหม ธอมัส ชิพเพ็นเดล (Thomas Chippendale) ช่างออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ เปลี่ยนรูปแบบการทำเฟอร์นิเจอร์โดยการนำโรโคโคมาประยุกต์ วิลเลียม โฮการ์ธ (William Hogarth) เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีของความสวยงามของโรโคโค ถึงแม้ว่าโฮการ์ธจะไม่ใช้คำว่าโรโคโคโดยตรงในหนังสือชื่อ "การวิจัยเรื่องความงาม" (Analysis of Beauty) (ค.ศ. 1753) แต่โฮการ์ธก็พูดถึงความอ่อนช้อย สละสลวยของเส้นและรูปโค้งแบบเอส (S-curves) ที่โรโคโคใช้ ซึ่งเป็นหัวใจของศิลปะโรโคโค และเป็นสิ่งที่ทำให้โรโคโคมีความอ่อนช้อยสวยงาม และทำให้แตกต่างจากศิลปะสมัยคลาสสิกซึ่งเป็นศิลปะสมัยที่หันกลับไปนิยมเลียนแบบศิลปะแบบกรีกและโรมัน) ที่จะขึงขังเพราะการใช้เส้นตรงหรือวงกลมเป็นหลัก ศิลปะโรโคโคเริ่มวิวัฒนาการขึ้นในขณะเดียวกับที่มีการฟื้นตัวกลับมานิยมสถาปัตยกรรมแบบกอธิคเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18
         ศิลปะโรโคโคเริ่มเสื่อมความนิยมกันราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อปัญญาชนเช่นวอลแตร์ และ จาค์ส ฟรังซัวส์ บรอนเดล (Jacques-François Blondel) เริ่มประณามว่าศิลปะโรโคโคเป็นศิลปะที่ฉาบฉวย เป็นศิลปะที่ทำให้คุณค่าของศิลปะโดยทั่วไปเสื่อมลง และ เป็นศิลปะที่ออกจะ "รก" เพราะจะเต็มไปด้วยลวดลายหอย, มังกร, หญ้า, ต้นปาล์ม และ ต้นไม้ใบไม้อื่นๆสารพัด พอถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ศิลปะโรโคโคก็เสื่อมความนิยมในประเทศฝรั่งเศส ศิลปะนีโอคลาสสิกที่ขึงขังเป็นระเบียบกว่าเข้ามาแทนที่ อย่างเช่นงานของจาค์ส ลุยส์ เดวิด (Jacques Louis David) ขณะเดียวกันที่ประเทศเยอรมนีก็เรียกศิลปะโรโคโคว่า Zopf und Perücke (ภาษาอังกฤษ: pigtail and periwig) หรือเรียกสมัยนี้สั้นๆว่า "Zopfstil" ขณะที่ตามเมืองใหญ่ๆเริ่มหมดความสนใจกับศิลปะ" ที่มากับรัฐบาลของพระเจ้านโปเลียน แห่งฝรั่งเศส เข้ามาแทนที่
          ระหว่างปี ค.ศ. 1820 ถึง ค.ศ. 1870 ความสนใจทางศิลปะแบบโรโคโคก็มีการฟี้นฟูขึ้นมาอีก ศิลปินอังกฤษเป็นศิลปินกลุ่มแรกที่หันมาฟี้นฟูศิลปะลักษณะนี้ และใช้คำว่า "แบบหลุยส์ที่ 14" เมื่อพูดถึงโรโคโค ศิลปะโรโคโคที่ไม่มีใครซื้อกันปารีสก็มาโก่งขายกันด้วยราคาแพงกันที่อังกฤษ แต่ศิลปินคนสำคัญเช่นยูจีน เดอลาครัวส์ (Eugène Delacroix) และ ผู้อุปถัมภ์ศิลปะเช่นจักรพรรดินียูจีน (Empress Eugénie) (พระมเหสีของพระเจ้านโปเลียนที่ 3) ก็ซาบซึ้งถึงคุณค่าของศิลปะโรโคโคเพราะความความอ่อนช้อยและความมีลูกเล่น

เฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่ง
       ความประดิษฐ์ประดอยและความมีลูกเล่นของศิลปะโรโคโคทำให้เป็นศิลปะที่เหมาะสำหรับสถานที่ไม่ต้องใหญ่โตโอฬารอย่างสถาปัตยกรรมหรือประติมากรรมแบบบาโรก  ฉะนั้นที่ฝรั่งเศสเราจึงพบศิลปะแบบนี้ภายในที่อยู่อาศัย อย่างเช่นรูปปั้นกระเบื้องเล็กๆ หรืองานโลหะ และโดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่กลายมาเป็นที่นิยมจนชนชั้นสูงชาวฝรั่งเศสต้องไปเสาะหามาตกแต่งคฤหาสน์หรือวัง
           องค์ประกอบของศิลปะแบบโรโคโคจะเน้นความไม่สมดุล (asymmetry) อันเป็นแนวคิดแบบใหม่ของศิลปะแบบยุโรป ซื่งแตกต่างจากแนวคิดเดิมที่เน้นการวางองค์ประกอบที่จะต้องสมดุล การใช้ความไม่สมดุลเช่นนี้เป็นการทำให้เกิดความรู้สึกที่เรียกกันว่า contraste
           ตัวอย่างของเฟอร์นิเจอร์แบบโรโคโคเต็มตัวจะเห็นได้จากโต๊ะที่สร้างโดยช่างออกแบบชาวเยอรมนีชื่อ เจ เอ ไมซอนเนียร์ (J. A. Meissonnier) เมื่อราวปี ค.ศ. 1730 โต๊ะทั้งตัวแต่งด้วยลวดลายจนพรางลักษณะสถาปัตยกรรมเดิมหรือโครงเดิม (tectonic form) ของตัวโต๊ะเองจนมิดชิด การตกแต่งนั้นจะไม่เหลือแม้แต่พื้นโต๊ะ ลวดลายทั้งหมดจะผสมผสานกลืนไปกับวงโค้งอย่างขาน่องสิงห์และลายหอยหรือใบไม้ (rocaille) อย่างที่โรโคโคนิยม


            โรโคโคเหมาะกับงานประติมากรรม หรือ รูปปั้นกระเบื้องชิ้นเล็กๆ อย่างรูปปั้นหรือเครื่องกระเบื้องที่มาจาก เซเวรอ (Sèvres) ประเทศฝรั่งเศส และ ไมเซ็น (Meissen) ประเทศเยอรมนี ประติมากรรมจากวัสดุอื่นก็มีไม้ และเหล็ก แต่สิ่งที่โรโคโคใช้กันมากคือตู้สารภาพบาป (confessionals) ธรรมมาสน์ แท่นบูชา (altar) หรือ การตกแต่งด้านหน้าของวัด (facade)
            ช่างแกะสลักไม้หรือช่างทำเฟอร์นิเจอร์จากปารีสและเยอรมนีจะเน้นการแกะสลักแบบลอยตัว แทนที่จะอวดลายธรรมชาติของเนื้อไม้หรือเคลือบไม้ให้มันแบบญี่ปุ่น แบบวิธีแวร์นีส์ มาแตง (vernis martin) อย่างช่างยุคก่อนหน้านั้น ช่างสมัยโรโคโคจะแกะไม้แล้วปิดทอง วิธีที่เรียกในภาษาฝรั่งเศสว่า ออร์โมลู (ormolu) ศิลปินสำคัญที่ใช้วิธีนี้ก็มี อองตวน กอเดรอ (Antoine Gaudreau) ชาร์ล เครซองท์ (Charles Cressent) ฌอง-ปีแอร์ แลทซ์ (Jean-Pierre Latz) ฟรองซัวส์ เออบอง (François Oeben) และ เบอร์นาร์ด ฟอน ริเซ็นเบิร์ก (Bernard II van Risenbergh)
            นักออกแบบชาวฝรั่งเศสเช่น ฟร็องซัวส์ เดอ คูวีลีเย (François de Cuvilliés) นิโคลัส พินเนอ (Nicholas Pineau) และบาร์โทโลมิว ราสเตรลิ (Bartolomeo Rastrelli) นำศิลปะแบบโรโคโคไปเผยแพร่ด้วยตนเองที่มิวนิค ประเทศเยอรมนี และเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย นักออกแบบกลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้นำทางของการตกแต่งสมัยใหม่ซึ่งนำโดยซิมอง ฟิลิปพีนิส พอยริเย (Simon-Philippe Poirier)
           ศิลปะโรโคโคในประเทศฝรั่งเศสจะค่อนข้างสงวนท่าที (reserve) กว่าทางเยอรมนีหรือประเทศอื่นที่โรโคโครุ่งเรือง ส่วนใหญ่จะเป็นงานไม้หรือสลักไม้ ศิลปะจะขาดชีวิตจิตใจหรือความอ่อนช้อยอย่างธรรมชาติ นอกจากนั้นยังขาดการผสมผสานระหว่างรูปทรงธรรมชาติและการประยุกต์จากรูปทรงธรรมชาติ
    โรโคโคทางประเทศอังกฤษก็คล้ายกับฝรั่งเศสตรงที่ค่อนข้างจะสงวนท่าที ธอมัส ชิพเพ็นเดล ช่างออกแบบเฟอร์นิเจอร์ใช้ความอ่อนช้อยแต่จะขาดลูกเล่น ศิลปินคนที่สำคัญที่สุดของสมัยนี้ก็คงจะเป็นธอมัส จอห์นสัน (Thomas Johnson) ช่างแกะสลักฝีมือดีจากลอนดอนตอนกลางศตวรรษที่ 18


การตกแต่งภายใน
       ตัวอย่างของการตกแต่งภายในแบบโรโคโคจะพบได้ใน วังโซลิทูด (Solitude Palace) ที่เมืองชตุทท์การ์ท และวังจีน (Chinese Palace) ที่เมืองออราเนียนบอม (Oranienbaum) วัดวีส์ และพระราชวังซองซูซีที่เมืองพอทสดัม
       การตกแต่งห้องของโรโคโคจะเลื่อนลอย และจะออกไปทางร่าเริง ทุกตารางนิ้วจะมีปูนปั้นเป็นรูปใบไม้ ไฟ ทรงหอย และก้อนเมฆห้อยระย้าไปทั้งห้อง และเช่นเดียวกับเฟอร์นิเจอร์การตกแต่งจะลบเลือนรูปทรงสถาปัตยกรรมเดิมออกหมดรวมทั้งขอบตกแต่งเพดาน (architrave, frieze และ cornice) ที่เคยเป็นที่นิยมกัน ด้วยการใช้รูปแกะสลักโดยเฉพาะปูนปั้น การตกแต่งแบบนี้จะเห็นได้จากงานของตระกูลการตกแต่งปูนปั้น ที่เรียกกันว่า โรโคโคเวสโซบุน (Wessobrunn) ที่วัดวีส์ การตกแต่งนี้จะรวมไปถึงเพดาน ผนัง เฟอร์นิเจอร์ และ สิ่งของอื่นๆ ที่ใช้ภายในห้องนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่กล่าวมาจะกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สีที่ใช้ก็จะเป็นสีสว่าง และ นุ่มนวลแทนที่จะใช้แม่สีและสีค่อนข้างหนักเหมือนศิลปะแบบบาโรก การตกแต่งภายในแบบนี้นิยมกันมากในการตกแต่งวัดคาทอลิกทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี จะเห็นได้จากงานของตระกูลฟ็อยค์เมอเย่ (Feuchtmayer)
       งานปูนโรโคโคโดยศิลปินฝีมือดีชาวสวิส-อิตาลีเช่น บากุตตี (Bagutti) และ อาตารี (Artari) จะเห็นได้จากการตกแต่งภายในบ้านที่ออกแบบโดยสถาปนิกอังกฤษชื่อเจมส์ กิบส์ (James Gibbs) และ งานของพี่น้องฟรานชินี (Franchini) ที่สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ที่ดีพอๆกับศิลปะลักษณะเดียวกันที่ประเทศอังกฤษ
       งานโรโคโคอื่นๆ ก็จะเห็นได้จากห้องบางห้องในพระราชวังแวร์ซายส์ และการตกแต่งสิ่งก่อสร้างทั่วไปในปารีส (โดยเฉพาะ Hôtel de Soubise) และ ในประเทศเยอรมนี ศิลปินเช่น อย่างฟรังซัวส์ คูวีลีเย โยฮันน์ บาลทาซ่า น็อยมัน (Johann Balthasar Neumann) และ จอร์จ เว็นซสลอส คโนเบลดอร์ฟ (Georg Wenzeslaus von Knobelsdorff) มีอิทธิพลต่อสิ่งก่อสร้างหลายแห่งเช่น อาร์มาเลียนเบิร์กใกล้มิวเชิน และปราสาที่เวือร์ซบูร์ก (Würzburg) พอทสดัม ชาร์ลอทเทนบูร์ก (Charlottenburg) บรืล (Brühl) บรุคซัล (Bruchsal) วังโซลิทูด และพระราชวังเชินบรุนน์ (Schönbrunn) นอกกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
      ในประเทศอังกฤษ  ภาพแกะ (engrave) ที่เป็นเรื่องราวสอนจริยธรรม (morality tale) ชุดหนึ่งของ วิลเลียม โฮการ์ธ (William Hogarth) ชื่อ “การแต่งงาน“ (Marriage à la Mode) ที่แกะเมื่อปี ค.ศ. 1745 มีฉากการเลี้ยงแต่งงานภายในห้องในกรุงลอนดอน ภาพของห้องนี้แสดงให้เห็นตัวอย่างของการตกแต่งห้องแบบโรโคโคในคฤหาสน์ที่กรุงลอนดอนในสมัยนั้น แต่การตกแต่งที่อังกฤษจะมีเฉพาะบนเพดานและภาพเขียน ห้องยังรักษาโครงสถาปัตยกรรม (techtonic form) อยู่ ไม่เหมือนการตกแต่งอย่างเต็มที่ในประเทศอื่นเช่นเยอรมนีที่ลบเลือนโครงสิ่งก่อสร้าง บนแท่นเหนือเตาผิงจะเห็นแจกันจีนและนาฬิกาติดผนังเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นการตกแต่งจนเกินงามของโรโคโค อังกฤษจะนิยมศิลปะแบบพาเลเดียน (Palladian) มากกว่าศิลปะโรโคโค


      ถึงแม้ว่าศิลปะโรโคโคจะเกิดจากการตกแต่งภายใน แต่ก็มีอิทธิพลกับจิตรกรรมเห็นได้ชัดจากภาพเขียน ภาพเขียนเหล่านี้ใช้สีที่สว่าง นุ่มนวลและจะเล่นเส้นโค้ง งานจิตรกรรมจะไม่เจาะจงเฉพาะสิ่งที่ปรากฏในภาพเขียน แต่จะรวมไปถึงกรอบของรูปที่จะแกะสลักกันอย่างอลังการด้วยรูปยุวเทพและสัตว์จากเทพนิยายปรัมปรา การเขียนภาพเหมือนสมัยนี้ก็เป็นที่นิยมกัน บางภาพจิตรกรจะแอบแฝงความซุกซนหรือความผิดจริยธรรมเล็กๆน้อยๆของตัวเจ้าของรูป ฉากหลังจะไม่เป็นโบสถ์แต่จะเป็นทิวทัศน์ แต่ก็เป็นทิวทัศน์อย่างที่เดินเล่นของชนชั้นสูงหรืออะไรที่ไม่หนักนัก




    ชอง อังตวน วัทโท ถือว่าเป็นศิลปินโรโคโคคนแรก จีนมีอิทธิพลต่อจิตรกรรุ่นต่อมาโดยเฉพาะ ฟรังซัวส์ บูแชร์ (François Boucher) และ จีน โฮนอร์ แฟรโกนาร์ด (Jean-Honoré Fragonard) สองคนหลังนี้เป็นศิลปินชั้นครูของสมัยโรโคโคตอนปลาย แม้แต่ ทอมัส เกนส์โบโร (Thomas Gainsborough) จิตรกรชาวอังกฤษ ก็ถือกันว่าได้รับอิทธิพลบางส่วนจากโรโคโค
     ภาพเขียนของบูแชร์แสดงให้เราเห็นของสังคมที่โรโคโคพยายามให้เราเห็น เป็นสังคมที่โอ่อ่า โอ้อวด สังคมของคนชั้นกลางแต่ก็ยังใช้วางท่าสง่า ภายในจะอบอุ่นเป็นกันเอง ตัวแบบมีความเป็นกันเองต่อกัน งานจะเต็มไปด้วยรายละเอียด แต่ทุกอย่างก็ยังออกมาทางความสง่างาม (galante)


ประติมากรรม
     ผู้ที่ถือกันว่าเป็นประติมากรคนสำคัญของโรโคโคแบบฝรั่งเศสคือเอทิยอง มอริซ ฟาลโคเนท์ (Étienne-Maurice Falconet) ประติมากรรมของฟาลโคเนท์ จะเป็นรูปปั้นกระเบื้องเล็กๆ แทนที่จะเป็นรูปแกะสลักหินอ่อนใหญ่โตอย่างสมัยบาโรก ฟาลโคเนท์เองก็เป็นผู้อำนวยการโรงงานเครื่องกระเบื้องที่ เซเวรอ ที่ประเทศฝรั่งเศส เรื่องที่ใช้ปั้นก็จะเป็นเรื่องรัก เรื่องสนุก และธรรมชาติ


     ประติมากรเอ็ดเม บูชาดอง (Edmé Bouchardon) ปั้นคิวปิดกำลังแกะลูกศรจากกระบองของเฮอร์คิวลีส(Hercules) รูปนี้คือหัวใจของศิลปะแบบโรโคโคที่แสดงปรัชญาพื้นฐานของโรโคโค ที่เทพ (คิวปิด) ถูกแปลเป็นเด็กน้อย กระบองกลายเป็นเครื่องมือแห่งความรัก (ลูกศร) เหมือนกับการที่ใช้ปูนปั้นแทนหินอ่อนในสมัยบาโรก ศิลปินคนอื่นที่น่าจะกล่าวถึงก็มี โรเบิร์ต เลอ ลอเรน (Robert le Lorrain) มิเชล โคลดิออง (Michel Clodion) และ พิกาลเล (Pigalle)


คีตกรรม
   ดนตรีแบบแกลลานเท (Galante Style) ระหว่างสมัยบาโรกและคลาสสิก ถือกันว่าเป็นดนตรีโรโคโค ดนตรีโรโคโคพัฒนามาจากดนตรีบาโรกโดยเฉพาะที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นดนตรีที่ไม่ไปทางนาฏกรรมแต่จะนุ่มนวล อย่างงานของ ฌอง ฟิลลิป ราเมอ (Jean Philippe Rameau) และ หลุยส์ คลอด ดาแควง (Louis-Claude Daquin)



แหล่งอ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/โรโกโก