วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รายงาน

ปราก ( Prague )



                     ปราก (อังกฤษPrague) หรือ ปราฮา (เช็กPraha) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐเช็ก มีประชากรอาศัยประมาณ 1.2 ล้านคน เมื่อค.ศ.1992 องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้ปรากเป็นมรดกโลก

สถานที่ท่องเที่ยว

            ปราสาทกรุงปราก ( Prague Castle )



              ปราสาทแห่งกรุงปรากเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่มีผู้คนเข้าเยี่ยมชมมากที่สุด และเป็นจุดสำคัญที่สุดของทั้งเมือง เปรียบดั่งว่าเป็นอัญมณีที่ล้ำค่าแห่งเมืองหลวงของเช็ก ปราสาทแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์อันเก่าแก่ของแผ่นดินเช็ก และความน่าเป็นไปได้ที่สุดคือ เจ้าชายโปริโวค (Prince Borivoj) เป็นผู้ที่ค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 880 โดยตัวปราสาทเองเป็นเสมือนกับเมืองน้อยๆ เมืองหนึ่ง และตามที่หนังสือกินเนตส์ (Guinness Book of World Records) ได้บันทึกไว้ว่า เป็นปราสาทที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างส่วนประกอบต่างๆของปราสาทที่ใหญ่และซับซ้อนที่สุดในโลก ครอบคลุมพื้นที่ถึง 70,000 ตารางเมตร (437.5 ไร่) และยังคงใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้
               ส่วนประกอบต่างๆของตัวปราสาททั้งหมดตั้งอยู่บนยอดเนินเขาและลดหลั่นลงมาจนถึงชายฝั่งด้านซ้ายของแม่น้ำวัลตารา (Vltava River) ตัวปราสาทอาจดูไม่เหมือนปราสาทแบบดั้งเดิมเป็นเพราะจากการสร้างที่ได้กระจายออกไปตามแนวราบมากกว่าแนวตั้ง

                    มหาวิหารเซนต์วิตัส ( St.Vitus Cathedral )



              มหาวิหารหลังนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยศัตวรรษที่ 14 เป็นการสร้างแบบสถาปัตยกรรมโกธีก (Gothic) ที่ได้ตกแต่งประดับประดาไปด้วยหัวสัตว์ประหลาดมากมายที่ทำด้วยหินตั้งอยู่บนหลังคาและปากท่อรางน้ำฝน ส่วนภายในของมหาวิหารนักท่องเที่ยวจะได้พบกับความงามอันประณีตของสถานที่ฝังศพต่างๆ และคุณยังสามารถปีนไต่ขึ้นไปบนยอดสุดของหอระฆังได้ ซึ่งเป็นจุดที่สูงสุดของปราสาทและสามารถชมความงามของตัวเมืองทั้งหมดจากมุมสูงตรงนั้น นอกจากนั้นมหาวิหารแห่งนี้ยังมีห้องสำหรับสวดมนต์เล็กที่อยู่ด้านข้างรอบๆ และสิ่งหนึ่งที่น่าทึ่งของห้องสวดมนต์เล็กของ เซนต์ เวนเซสลาส คือกำแพงฝาผนังที่ประดับได้ด้วยพลอยและหินที่มีสีสันสดใสระรานตา
                
                จัตุรัสเมืองเก่า


                  จัตุรัสแห่งนี้ได้มีนโยบายให้เป็นศูนย์กลางสาธารณะที่สำคัญของกรุงปรากตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 และได้เป็นตลาดหลักตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 ตอนต้น และปัจจุบันนี้ได้เป็นแหล่งค้าขายสิ่งที่ต้องการให้แก่ทั้งนักท่องเที่ยวและผู้คนท้องถิ่น และเป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยคาเฟ่ต่างๆ ผับและร้านอาหารอย่างมากมายทั้งนี้ยังรวมไปถึงร้านขายของที่ระลึกราคาถูก มีรถม้าไว้บริการ, มีพิพิธภัณฑ์และห้องจัดแสดงผลงานศิลปะต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามที่นี่จะเต็มไปด้วยการค้าขายอย่างมากมายแต่ไม่ได้ทำให้ความสวยงามของจัตุรัสแห่งนี้ลดลงแต่อย่างใด
                  จัตุรัสเมืองแห่งนี้เป็นสถานที่เหมาะสำหรับการที่จะนั่งข้างนอกผับทั้งหลายแหล่เพื่อที่จะลิ้มลองสุดยอดเบียร์นานาชนิดของกรุงปรากในระหว่างที่คุณดื่มด่ำกับบรรกาศของเมือง ส่วนที่สวยและน่าชมที่สุดของเมืองคือตึกราบ้านช่องที่ระบายด้วยสีพาสเทลที่ตั้งอยู่รอบๆจัตุรัสนั้นเอง

                    นาฬิกาดาราศาสตร์


            หอคอยที่เป็นที่ยอดนิยมของเมืองคืออาคาร หอนาฬิกา (Town Hall Clock) นาฬิกาดาราศาสตร์ของกรุงปรากเป็นหนึ่งในนาฬิกาที่เก่าแก่และการสร้างที่ประณีตและละเอียดที่สุดที่เคยมีการสร้างมา นาฬิกานี้ถูกติดตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1410 และหลังจากนั้นได้ทำการปรับปรุงซ่อมแซมนาฬิกานี้โดย เดอะมาสเตอร์ ฮานาส (The Master Hanus) ในปี ค.ศ. 1490 นาฬิกาเรือนนี้มีส่วนประกอบหลักๆอยู่สามส่วนคือ หน้าปัดที่บอกเกี่ยวกับดาราศาสตร์ การอธิบายตำแหน่งการโคจรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์บนท้องฟ้า และแสดงรายละเอียดอื่นอีกมากมายเกี่ยวกับดาราศาสตร์ การออกมาเดินของสาวกของพระเยซูทั้ง12คน” นาฬิกาจะบอกเวลาทุกๆชั่วโมงและจะแสดงท่าทางของสาวกของพระเยซูทั้ง12คน และการเคลื่อนไหวของรูปปั้นอื่นๆ  และหน้าปัดปฏิทินจะเป็นเหรียญแกะสลักขนาดใหญ่อธิบายเดือนต่างๆ
                   ผู้คนจะรวมตัวกันก่อนหน้าที่นาฬิกาจะแสดงการบอกเวลาตลอดทั้งวันตั้งแต่เวลา 09:00 ถึง 21:00 น. นาฬิกาจะแสดงการบอกเวลาทุกๆชั่วโมง การแสดงท่าทางและเสียงระฆังของสาวกพระเยซูจะปรากฏอยู่ด้านบนจะเป็นรูปปั้นของไก่งวง (The Turk) ตัวที่ส่ายหัวในความที่ไม่เชื่อชื่อ เดอะไมเซอร์ (The Miser) ตัวที่จ้องมองทองคำในกระเป๋าของตน และวานิตี (Vanity) ตัวที่ชื่นชมตัวเองในกระจก

                   มาเล  นาเมสตี


                  อยู่ห่างจากจัตุรัสเมืองเก่าไปเพียงไม่กี่ก้าว ที่นี่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของฟรันซ์ คาฟกา อย่าพลาดไปเยี่ยมชมโบสถ์พระแม่ (Church of Our Lady Before Týn) พระราชวังกินสกีซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบรอคโคโค บ้านระฆังหินที่สร้างตั้งแต่ยุคกลาง และโบสถ์เซนต์นิโคลัสแบบบารอค

                  สะพานชาร์ลส์


                  ศตวรรษที่ 13 สะพานชาร์ลส์โดยปรกติแล้วจะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวมากมายและเช่นเดียวกันกับชาวเช็กยิ่งเฉพาะในช่วงเดือนฤดูใบไม้ผลิและช่วงฤดูร้อน แน่นอนว่าสะพานชาร์ลส์จัดอยู่ในอันดับต้นๆที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในเมืองนี้ และเป็นสถานที่อันดับต้นๆในรายการที่คุณจะไปเยี่ยมชม ช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือตอนเช้าที่จะได้สัมผัสกับประสบการณ์นี้และเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนไม่พลุกพล่าน แต่อย่างไรก็ตามการเดินเล่นผ่านแสงไฟยามค่ำคืนก็เป็นสิ่งที่สวยงามประทับใจอีกอย่างหนึ่งของกรุงปราก แผงขายของฝากมากมายตั้งเรียงรายอยู่ตามถนนหนทางดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด เช่นเดียวกันกับนักดนตรีข้างถนนที่บรรเลงเพลงของตัวเองจากหัวใจของพวกเขาสู่ใจของคุณยามที่คุณเดินผ่าน และคุณยังสามารถเป็นเจ้าของภาพวาดใบหน้าของคุณโดยศิลปินนักวาดภาพล้อเลียน ก็นับเป็นของที่ระลึกอีกอย่างที่จะได้นำกลับบ้านเช่นกัน
                 สะพานชาร์ลส์ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือแห่งนี้ทอดตัวข้ามแม่น้ำวัลตาวา (Vltava River) ในกรุงปราก และสะพานได้เชื่อมต่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างยุโรปตะวันออกและตะวันตก และทำให้กรุงปรากเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองแห่งเส้นทางการค้าขาย ตัวสะพานดั้งเดิมเคยถูกขนานนามว่า สะพานหิน หรือ สะพานแห่งกรุงปราก แต่ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “สะพานชาร์ลส์” “Charles Bridge” เมื่อปี ค.ศ. 1870



                พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 ทรงโปรดให้สถาปนิกและช่างก่อสร้างชื่อ ปีเตอร์ พาร์เลอร์ (Peter Parler) ให้สร้างสะพานที่ทันสมัยในยุคนั้น ในความคิดเริ่มแรกคือการสร้างแล้วสามารถที่จะใช้ประโยชน์ในการแข่งขันการต่อสู้บนหลังม้า  และหลายปีผ่านไปการตกแต่งสะพานแห่งนี้มีเพียงแค่กางเขนที่มีรูปหุ่นพระเยซูถูกตรึงอยู่เท่านั้นเอง หลังจากนั้นความปรารถนาของชาวคาทอลิคที่มีต่อการประดับประดาตกแต่งสะพานให้ดูสวยงามขึ้น ก็ได้ลงเอยกันด้วยการจัดสร้างรูปปั้นเพิ่มเติม 30 รูป และเริ่มสร้างตั้งแต่ปี (ค.ศ.1600 ถึงปี 1800)


                ปัจจุบันนี้รูปปั้นส่วนใหญ่เป็นของเลียนแบบ ส่วนสาเหตุที่ทำให้รูปปั้นเสียหายและได้ทำของเลียนแบบขึ้นมาคือจากการถูกน้ำท่วมซ้ำหลายครั้งหลายครา และภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นในหลายๆศตวรรษที่ผ่านมา และรูปปั้นที่เก่าแก่ที่สุดตรงนี้คือ รูปปั้นไม้กางเขนที่มีพระเยซูถูกตรึงอยู่ (ค.ศ.1657) ตั้งอยู่ตรงใกล้กับปลายสะพานด้านเมืองเก่า (Old Town) ข้อความที่จารึกในแผ่นป้ายภาษาฮิบบรูที่เคลือบทองเขียนไว้ว่า “แด่พระเจ้าผู้ที่ศักดิ์สิทธิ์” ‘Holy, holy, holy, the Lord of Hosts’ ได้ทุนการสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1694 โดยการเรียกค่าปรับจาก อีเลียส แบ็คโคเฟน (Elias Backoffen) ชาวยิวในสมัยนั้น ในทุกวันนี้มีรูปปั้นอยู่ 75 รูปและบางทีอาจเป็นไปได้ว่ารูปปั้นที่น่าสนใจและเก่าแก่ที่สุดคือรูปปั้นของ จอหน์ เนปโปมุค (John Nepomuk) (รูปปั้นที่ 8 ทางขวามือถ้าหากคุณข้ามมาจากทางปราสาท) ในตำนานกล่าวไว้ว่าถ้าคุณได้เอามือลูบกับแผ่นจารึกทองแดงที่อยู่ตรงฐานของรูปปั้นนั้นแล้ว แน่นอนว่าสักวันหนึ่งคุณต้องหวนกลับมายังกรุงปรากอีกครั้ง และนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปผ่านมาล้วนแต่ได้เอามือลูบแผ่นจารึกนั้นทั้งสิ้น จนกลายเป็นแผ่นสีทองแวววาวสุกใส


                ตัวสะพานมีความยาวทั้งสิ้น 516 เมตร ประกอบด้วยตอม่อ 16 ต้น และหอสะพานสามแห่ง หนึ่งในจำนวนหอสะพานคือหอสะพานเมืองเก่า (Old Town Bridge Tower) ที่ได้รับการพิจารณายกย่องให้เป็นหอสะพานที่สวยที่สุดในยุโรป เป็นเพราะการตกแต่งผลงานการปั้นแกะสลักหรือรูปหล่อที่สวยงามสมบูรณ์แบบ หอสะพานนี้ยังเปิดให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการชมทิวทัศน์จากดาดฟ้าของหอคอยสะพานเพื่อชื่นชมกับสุดยอดของแสงแห่งรุ่งอรุณยามเช้าด้วย

                คัมป้า  ไอร์แลนด์ ( Kampa )


                ด้านสุดของทิศเหนือสะพานชาร์ลส์ ปัจจุบันนี้ได้เชื่อมต่อกับส่วนที่เหลือของเมืองด้วยถนน นา คัมเป้ (Na Kampe) เพราะว่าได้เคยถูกแยกจากตัวเมืองมาก่อน เกาะ คัมป้า ไอร์แลนด์เป็นหนึ่งในสถานที่เงียบสงบในกรุงปราก ตัวเกาะได้แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนที่อยู่ใกล้กันกับสะพานชาร์ลส์ ซึ่งส่วนนี้ของเกาะเป็นรูปแบบจัตุรัสที่แฝงไปด้วยอบอุ่น ส่วนอีกฝากหนึ่งของเกาะเติมแต่งด้วยสวนต่างๆนานาที่อิงประวัติศาสตร์ เมื่อได้ย้อนกลับไปเมื่อศตวรรษที่ 12 และหลายปีที่ผ่านๆมา น้ำในแม่น้ำได้เอ่อเข้าท่วมอย่างไม่หยุดหย่อนและได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างของเกาะไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปี ค.ศ. 1541 ชาวบ้านได้ช่วยกันเสริมคันกั้นน้ำของเกาะด้วยการใช้เศษอิฐเศษปูนและเหล็กจากอาคารต่างๆที่ถูกไฟไหม้มาใช้ในการเสริมคันกั้นน้ำ แต่อย่างไรก็ตามเกาะได้ถูกแยกออกจาก เลสเซอร์ ทาวน์ (Lesser Town) ด้วยร่องแม่น้ำรู้จักกันในชื่อ เซอร์โทฟว่า (Certovka) ซึ่งชื่อนี้หมายความว่า ภูตผีปีศาจ จากตำนานความสำเร็จของผู้หญิงคนหนึ่งที่ครั้งหนึ่งเธอได้ดำเนินการโรงสีบนเกาะและได้สมรู้ร่วมคิดกับภูตผีปีศาจที่ว่านี้ นานมาแล้วเนื้อที่บนเกาะส่วนใหญ่เคยเป็นพื้นที่แห้งแล้งจนกระทั้งถึงกลางศตวรรษที่ 16 ไม่มีสิ่งก่อสร้างใดๆนอกจากโรงสีกังหันน้ำสามแห่งเท่านั้น ปัจจุบันนี้นักท่องเที่ยวยังคงที่จะได้เห็นกังหันน้ำอยู่สองแห่ง



                   ย่านที่อยู่เก่าของชาวยิว ( Josefov )


                 ย่านที่อยู่เก่าของชาวยิวนี้เป็นพื้นที่เล็กๆที่รู้จักกันในชื่อของ โจเซฟฟอส (Josefov) ตั้งชื่อตามจักรพรรดิ โจเซฟ ที่ 2 ผู้ที่ได้ทำการปฏิรูปเพื่อการช่วยเหลือให้ชาวยิวในสมัยนั้นได้มีที่อยู่อาศัยที่ดีเป็นหลักเป็นฐาน (ย่านที่อยู่เก่าของชาวยิวแห่งนี้เป็นส่วนที่หลงเหลือของชุมชนแออัดของชาวยิวมาก่อน) โจเซฟฟอสตั้งอยู่ตรงระหว่างจัตุรัสเมืองเก่า (The Old Town Square) กับแม่น้ำวัลตาวา ที่ตรงนี้มีบุคคลสำคัญสองคนที่มีประวัติความเป็นมาที่คล้ายคลึงกันที่เคยอยู่ในย่านนี้ของเมืองคือ แฟร็งค์ คัพค่า (Franz Kafka) และยักษ์โกเลม (Golem) ยักษ์ตนนี้ได้สร้างขึ้นโดย เยฮูด้า เบน เบ็ซซาวัล (Jehuda ben Bezalel) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า ราไบ โลฟ (Rabbi Löw) สถานที่ต่างๆในโจเซฟฟอสสามารถที่จะเดินชมได้ทั่วภายในหนึ่งวัน แต่หากว่าต้องการสำรวจรายละเอียดต่างๆของสิ่งเล็กสิ่งน้อยที่อยู่ภายในโบสถ์ของศาสนายิวต้องใช้เวลามากกว่าหนึ่งวันอย่างแน่นอน เช่นสุสานชาวยิวรวมทั้งโบสถ์ศาสนายิวที่เก่าใหม่ (Old-New Synagogue)โบสถ์คลาวเซ็น (Klausen) และโบสถ์พิงค์คัส (Pinkas) โบสถ์ที่กล่าวมานี้คุ้มค่ากับการเข้าชมอย่างแน่นอน อีกอย่างหนึ่งต้องเตรียมพร้อมที่จะจ่ายค่าเข้าชมเพราะสถานที่ต่างๆส่วนใหญ่จะเก็บค่าเข้าชมซึ่งราคาเริ่มตั้งแต่ 200 CZK หรือถ้าจ่ายแบบตั๋วเหมาครั้งเดียวในราคาเพียง 500 CZK ก็สามารถเข้าชมได้ทุกที่ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมค้นหาได้ที่ www.jewishmuseum.cz.

                  ย่านชุมชนแออัดของกรุงปราก 


                 ปัจจุบันนี้พิพิธภัณฑ์ชาวยิวได้แยกออกเป็น 7 แห่งที่กระจัดกระจายอยู่ในสถานที่ต่างๆในย่านโจเซฟฟอส ส่วนที่เหลือของการตั้งรกรากอยู่ท่ามกลางทาวน์ฮอลล์ของชาวยิว (The Jewish Town Hall) และสุสานเก่าของชาวยิวเป็นสถานที่ที่น่าทึ่งที่สุดในยุโรป สถานที่ต่างๆจะเปิดเวลา 09:30 ถึง 18:00 น. และจะปิดในวันหยุดต่างๆของชาวยิว ข้อแนะนำ: หลีกเลี่ยงการไปชมในวันเสาร์เพราะเป็นวันทำพิธี ซัปบาธ (Sabbath)
                 ซึ่งพิพิธภัณฑ์ชาวยิวทั้ง 7 แห่ง  ได้แก่
                 1.โบสถ์คลาวเซน (Klausen) ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ. 1680 ที่นี่มีการแสดงนิทรรศการขนบธรรมเนียมประเพณี และเครื่องแต่งกายของชาวยิว
                 2.โบสถ์สแปนิส (Spanish) ด้วยการออกแบบสร้างสไตล์มอริช “Moorish” โบสถ์แห่งนี้มีลักษณะที่โดดเด่นเป็นอย่างมากเมื่อได้เห็น และโบสถ์แห่งนี้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของยิวตั้งแต่ยุคที่ได้รับการปลดแอกจนถึงปัจจุบัน
                 3.โบสถ์พิงค์คัส (Pinkas) ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ. 1475 โบสถ์แห่งนี้เป็นอนุสรณ์สถานแด่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของลัทธินาซี
                 4.โบสถ์ไมเซล์ (Maisel) ห้องโถงในโบสถ์จัดแสดงประวัติศาสตร์ของยิวในยุคสมัยโบฮิเมีย (Bohemia) และ โมราเวีย (Moravia)  ฮอลล์เก่าสำหรับประกอบพิธี (Former Ceremonial Hall) อาคารหลังนี้สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบบาโรกและมีลักษณะที่เด่นเฉพาะด้วยมียอดหลังคาสีเขียว ในตัวอาคารจัดแสดงขนบธรรมเนียมประเพณี และเครื่องแต่งการของชาวยิว
                 5.โบสถ์จูบิลี (Jubilee) เป็นโบสถ์ศาสนายิวที่ได้สร้างล่าสุดและเป็นโบสถ์ใหญ่ที่สุดในกรุงปราก 
                  6.สุสานเก่าของชาวยิว สถานที่แห่งนี้สามารถที่จะได้พบกับหลุมฝังศพของ ราไป โลฟ (Rabbi Löw)
                   7.โบสถ์เก่า-ใหม่ (Old-New Synagogue) โบสถ์แห่งนี้สร้างแบบสถาปัตยกรรมโกธิกตอนต้น ของศตวรรษที่ 13 เป็นโบสถ์ศาสนายิวที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป

                  อาคารที่ทำการเทศบาล


                พระราชวังแบบอาร์ต นูโวแห่งนี้สร้างขึ้นระหว่างปี 1905 ถึง 1912 และมีคอนเสิร์ตฮอลล์ที่ใหญ่ที่สุดในเมือง (สเมตาโนวา ฮอลล์)  จุดเด่นของอาคารนี้อยู่ที่โมเสค  กระจกสีชิ้นเล็กๆที่มาเรียงเป็นภาพที่ละเอียดอ่อน 

               โบสถ์เซนต์นิโคลัส


                 โบสถ์นี้มีความวิจิตรงดงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบบาโรก ได้สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1704 – 1755 โดยคิเลียน ดีนเซนโฮฟเฟอร์ (Kilian Dientzenhofer) เป็นโบสถ์ที่งดงามโบสถ์หนึ่งในยุโรปที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบบาโรก ตัวโบสถ์ได้สร้างเสร็จในปีค.ศ. 1735 แต่ในปีค.ศ. 1781 จักรพรรดิโจเซฟที่ 2 ได้สั่งให้ยุติการสร้างและย้ายข้าวของเครื่องตกแต่งออก
              ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารของเช็กได้ประจำการอยู่ที่โบสถ์แห่งนี้ และในเวลาเดียวกัน กลุ่มศิลปินต่างๆได้ทำการบูรณะซ่อมแซมตัวโบสถ์ แรกเริ่มเป็นโบสถ์ของ เบนเนดิกทีน (Benedictine Monastery) ปัจจุบันนี้เป็นของ โบสถ์เช็กโชสโลวาค ฮูสไซด์ (The Czechoslovak Hussite Church)
                   มีเพดานที่สวยงามด้วยภาพเขียนแสดงถึงชีวประวัติของเซนต์นิโคลัส และเซนต์เบนเนดิก พร้อมทั้งโคมไฟระย้าอันสวยงาม ด้านหน้าของอาคารด้านทิศใต้ตกแต่งด้วยรูปปั้นและภาพวาดของนักบุญต่างๆ สิ่งเหล่านี้มีชื่อเล่นว่า เค้กแต่งงาน (The wedding cake) และเป็นสิ่งที่เป็นงานสถาปัตยกรรมบาโรกรูปแบบดั้งเดิมของกรุงปราก


                 อิกนาซ พลาทเซอร์ เป็นผู้ที่สร้างรูปปั้น เดอะคอปเปอร์แห่งเซนต์นิโคลัส (The copper statue of St Nicholas) ซึ่งมองลงมาจากแท่นบูชาสูง ตัวโดมที่โอ่งโถงมีความสูง 18 เมตร (59 ฟีต) ซึ่งมีความสูงกว่าหอคอยเปอร์ตริน ด้วยการตกแต่งที่นิยมในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 18 ของพื้นที่ยกสูงประดับประดาไปด้วยนางฟ้าต่างๆและเหล่ากามเทพทำโดย ปีเตอร์และริชาร์ด ปราชเนอร์ (Richard Prachner) ในปีค.ศ 1765


                 ออร์แกนบาโรกตัวที่ตั้งอยู่ภายในเคยถูกเล่นโดย ดับบลิว เอ โมสาร์ท (W. A. Mozart) เมื่อครั้งที่เขาอาศัยอยู่ในกรุงปราก 4 ปีต่อมาออร์แกนตัวเดียวกันนี้ได้เล่นในพิธีศพเพื่อความทรงจำของเขา โบสถ์เซนต์นิโคลัสยังเป็นสถานที่นิยมจัดคอนเสิร์ตในช่วงฤดูร้อน ใกล้กันกับโบสถ์นี้คุณสามารถที่จะใช้บริการรถม้าเพื่อเที่ยวชมรอบจัตุรัสเมืองเลเซอร์ ทาวน์ได้อีกด้วย

                 ถนนหน้าจัตุรัส เวนเชสลาส


                ทางใต้สุดทางของถนน นา ปริโคปเป้ ที่บรรจบกับ จัตุรัส เวนเชสลาส (Václvské náměstí) จะเห็นเป็นถนนที่กว้างใหญ่มีความยาว 750 เมตร และกว้าง 60 เมตร ถนนสายนี้ได้ออกสู่สายตาให้เห็นมาตั้งแต่ 600 ปีก่อนในรัชสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 เมื่อครั้งนั้นได้ถูกใช้เป็นตลาดค้าม้า ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจัตุรัสแห่งนี้เอาไว้เป็นสถานที่ไว้จัดขบวนแห่อย่างเป็นประจำสำหรับทุกชนชั้น ไม่ว่าจะเป็นคณะองค์กร หรือพรรคของรัฐบาลที่เป็นที่รู้จักกันดีในสาธารณรัฐเช็ก ถนนสายนี้สามารถที่จะรองรับผู้คนได้ถึง 40,000 คน อย่างสบายๆและซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วก่อนหน้านี้ในอดีต ในส่วนบนสุดของถนนใหญ่สายนี้มีรูปปั้นที่สง่างามของ เซนต์ เวนเชสลาสที่นั่งอยู่บนหลังม้า ห่างไปอีกไม่กี่เมตรจากรูปปั้นนั้นมีแผ่นจารึกตั้งอยู่เพื่อไว้อาลัยแด่ผู้คนที่ถูกเข่นฆ่าในช่วงยุคสมัยคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้ซึ่งรวมถึง ยันน ปาลัค (Jan Palach) นักเรียนที่มีอายุเพียง 20 ปี ผู้ที่ได้จุดไฟเผาตัวเองในเดือนมกราคม ค.ศ. 1969 ระหว่างการประท้วงต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ 4 เดือนก่อนหน้าการรุกรานของจักรวรรดิโซเวียต  และยัน ปาลัคเสียชีวิตหลังจากนั้นสามวันด้วยสาเหตุที่ร่างกายถูกไฟไหม้ไปทั้งหมด 85% และหลังจากที่เขาตายมีผู้คนเข้าร่วมงานศพกว่า 800,000 คน ต่อมาการล่มสลายของจักรวรรดิ์คอมมิวนิสต์ก็ได้เกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 1989 วาซาฟ ฮาเวียร์ (นักเขียน) และ อเล็กซานเดอร์ ดูปเซ็ค (นักการเมือง) ก็ได้ปรากฎตัวบนระเบียงหมายเลข 36 ทักทายผู้สนับสนุนทั้งหลายด้วยความปราบปลื้มปิติอย่างล้นเหลือ ทุกวันนี้ ปาลัค และเหล่าผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของระบอบคอมมิวนิสต์ได้มีการสร้างสถูปเล็กๆเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกตรงด้านหน้าของรูปปั้น โจเซฟ มิสโซเบ๊ค (Josef Myslbek) ที่กำลังขี่ม้าของ เซ็นต์ เวนเชสลาส


                  ปัจจุบันนี้จัตุรัส เวนเชสลาส เป็นแหล่งที่เร่งรีบและพลุกพล่านด้วยการค้าขาย และสถานที่แห่งนี้จะเริ่มมีชีวิตชีวาขึ้นมาหลังจากพระอาทิตย์ตกดินแล้ว ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารต่างๆ โรงภาพยนตร์และไนท์คลับต่างๆ ที่เป็นจุดดึงดูดใจของนักท่องเที่ยวให้มารวมตัวกัน ยังเคยเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์สำคัญๆทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา พื้นที่ในจัตุรัสแห่งนี้มีสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ไม่ไกลเกินที่จะเดินได้ทั่วถนนและเป็นการคุ้มค่าในการเดินแต่ละย่างก้าวไปบนพื้นที่แห่งนี้ ทางทิศเหนือสุดจัตุรัส คุณจะได้พบกับ นีโอ-เรไนซันเซ่ (Neo-Renaissance) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ และเป็นอาคารอีกหลังที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ พระราชวัง โครูน่า (Koruna Palace) เป็นอาคารที่ครอบคลุมช็อปปิ้งอาเขตที่มีกระจกประกอบกันเป็นโดมอย่างสวยงามได้สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1911

                  โบสถ์พระแม่ (Church of Our Lady Before Týn)


                  ภายในเป็นการตกแต่งด้วยศิลปะแบบกอธิคตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 14 ตั้งอยู่ที่จัตุรัสเมืองเก่า

                  ตึกเต้นรำ


                    อาคารเต้นรำมีชื่อเล่นว่า “เฟรด และ จิงเจอร์” ซึ่งเป็นตึกสำนักงานสร้างอยู่ใจกลางกรุงปราก ได้สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1997 โดยสถาปนิกชาวเช็กชื่อ วัลโด มิลูนิค (Vlado Milunic) แต่เกิดในโครเอเชีย โดยการร่วมมือของสถาปนิกชาวอเมริกันชื่อ แฟร็งค์ เกฮรี่ (Frank Gehry) โดยได้สร้างบนพื้นที่ดินว่างเปล่าแปลงเล็กตรงริมแม่น้ำ ตึกที่ติดกันเจ้าของเป็นนักเขียนบทละครชาวเช็ก และเป็นอดีตประธาธิบดีชื่อ วัลโซฟ ฮาเวล ผู้ที่มีส่วนสนับสนุนคนสำคัญต่อสถาปัตยกรรมล้ำยุคที่มีบทบาทสำคัญในการโต้แย้งในการออกแบบและอนุมัติการก่อสร้าง ตึกเต้นรำรู้จักกันภาษาเช็กว่า ทันซิซิ ดัม (Tancici dum) ‘the Dancing House’ ตัวอาคารจะดูไปแล้วเหมือนกับคู่เต้นรำที่ยื่นออกมาให้เห็นโดยไม่มีการกระทบกระทั่งกับสถาปัตยกรรมแบบ นีโอ-บาโรก, นีโอ-โกธิก และศิลปแบบนูโว ตัวตึกนี้เป็นอีกหนึ่งที่มีชื่อเสียงของกรุงปราก มีห้องอาหารฝรั่งเศษระดับหลายดาวอยู่บนดาดฟ้าพร้อมด้วยทิวทัศน์ที่งามเป็นเลิศ ในตัวตึกมีบริษัทยักษ์ใหญ่นานาชาติเช่าพื้นที่อยู่



แหล่งอ้างอิง : http://www.prague.fm/th/สถานที่ท่องเที่ยว
http://th.wikipedia.org/ปราก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น